อุปสรรคในการดำเนินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน

Main Article Content

จักรกฤษณ์ วังราษฎร์
สุวินัย แสงโย
กัญญาณัฐ อุ่นมี

บทคัดย่อ

ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยเบาหวานในกลุ่มผู้สูงอายุ คือ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ เนื่องจากมีอุปสรรคขัดขวางการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของตน ส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนหลายประการ การศึกษามีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอุปสรรคในการดำเนินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานในพื้นที่ตำบลบ้านถ้ำ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 96 คน เป็นแบบสอบถาม 2 ส่วน  แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ แบบสอบถามอุปสรรคในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีค่าความตรงของเนื้อหา 0.82 และค่าความเชื่อมั่น 0.86 โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เมื่อพิจารณาอุปสรรครายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีอุปสรรคด้านการควบคุมอาหารและอุปสรรคด้านการออกกำลังกาย ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่มีอุปสรรคด้านการใช้ยาและอุปสรรคด้านการสนับสนุนของครอบครัวคิดเป็นร้อยละ 35.42 และ 42.71 ตามลำดับ การศึกษานี้สามารถนำไปใช้กำหนดแนวทางดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โดยการสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
วังราษฎร์ จ., แสงโย ส. และ อุ่นมี ก. 2018. อุปสรรคในการดำเนินพฤติกรรมการดูแลสุขภาพที่ส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 2 (พ.ค. 2018), 351–375.
บท
บทความวิจัย

References

กมลพรรณ วัฒนากร และ อาภรณ์ ดีนาน. 2556. การพัฒนาโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 27(2): 143-156.

ขนิษฐา ขลังธรรมเนียม วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ นารีรัตน์ จิตรมนตรี และ คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้ความเจ็บป่วย การรับรู้ทางอารมณ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ควบคุม ระดับน้ำตาลไม่ได้. วารสารพยาบาลทหารบก 17(2): 135-144.

จิราพร กันบุญ ทวีลักษณ์ วรรณฤทธิ์ และ สมบัติ ไชยวัณณ์. 2549. อุปสรรคในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ที่เป็นเบาหวาน. พยาบาลสาร 9(1): 1-15.

จูณี คงทรัพย์ และ นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. 2555. การจัดการตนเองด้านการออกกำลังกายในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 30(2): 57-64.

ประทุม สุภชัยพานิชพงศ์ ภรณี วัฒนสมบูรณ์ สุปรียา ตันสกุล และ พิศาล ชุ่มชื่น. 2557. ความรู้และความเชื่อเกี่ยวกับการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่รับประทานยาตามคำแนะนำอย่างต่อเนื่อง. Veridian E-Journal Science and Technology Silpakorn University 1(1): 1-12.

วรนัน คล้ายหงส์ นารีรัตน์ จิตรมนตรี และ วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์. 2559. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างถูกต้องสม่ำเสมอของผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 24(1): 65-75.

วิชัย เอกพลากร. 2557. สถานะสุขภาพ. หน้า 133-141. ใน: วิชัย เอกพลากร (บก.). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. กราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, กรงุเทพฯ.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, กระทรวงสาธารณสุข. 2556. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2556.
(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistics_2556.pdf
(1 สิงหาคม 2560).

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, กระทรวงสาธารณสุข. 2557. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistics_2557.pdf
(1 สิงหาคม 2560).

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, กระทรวงสาธารณสุข. 2558. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: http://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistic2558.pdf (1 สิงหาคม 2560).

สุนทรี สุรัตน์ กิตติ ศศิวิมลลักษณ์ เกวลี เครือจักร และ วิโรจน์ มงคลเทพ. 2559. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในพื้นที่อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(2): 297-307.

เสาวนีย์ วรรละออ พรทิพย์ มาลาธรรม และ อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. 2555. แรงสนับสนุนจากครอบครัวตามการรับรู้ของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ที่สามารถควบคุมระดับนํ้าตาลในเลือดได้. รามาธิบดีพยาบาลสาร 18(3): 372-388.

เอมอร ชัยประทีป. 2560. การศึกษาความรู้และพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชมรมผู้สูงอายุเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 77-88.

Aikens, J.E and J.D. Piette. 2013. Longitudinal association between medication adherence and glycemic control in Type 2 diabetes. Diabetic Medicine 30(3): 338-344.

Bayliss, E. A., J. F. Steiner, D. H. Fernald, L. A. Crane and D. S. Main. 2003. Descriptions of barriers to self-care by persons with comorbid chronic diseases. Annals of Family Medicine 1(1): 15-21.

Doggrell, S. A. and S. Warot. 2014. The association between the measurement of adherence to anti-diabetes medicine and the HbA1c. International Journal of Clinical Pharmacy 36(3): 488-497.

Dutton, G. R., J. Johnson, D. Whitehead, J. S. Bodenlos and P. J. Brantley. 2005. Barriers to physical activity among predominantly low-income African-American patients with type 2 diabetes. Diabetes Care 28(5): 1209-1210.

Krejcie, R. V. and D. W. Morgan. 1970. Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement 30(3): 607-610.

Lawton, J., N. Ahmad, L. Hanna, M. Douglas and N. Hallowell. 2005. ‘I can't do any serious exercise’: barriers to physical activity amongst people of Pakistani and Indian origin with Type 2 diabetes. Health Education Research 21(1): 43-54.

Black, J.M. and E. Matassarin-Jacobs. 1993. Medical-Surgical Nursing: A Psychophysiologic Approach. W.B. Saunders Company. Philadelphia.

Mayberry, L. S. and C. Y. Osborn. 2012. Family support, medication adherence, and glycemic control among adults with type 2 diabetes. Diabetes Care 35(6): 1239-1245.

Miller, J. B., E. Pang and L. Bramall. 1992. Rice: a high or low glycemic index food?. The American Journal of Clinical Nutrition 56(6): 1034-1036.

Rosland, A.-M., M. Heisler, H.-J. Choi, M. J. Silveira and J. D. Piette. 2010. Family influences on self-management among functionally independent adults with diabetes or heart failure: do family members hinder as much as they help? Chronic Illness 6(1): 22-33.

Schoenberg, N. E. and S. C. Drungle. 2001. Barriers to non–insulin dependent diabetes mellitus (NIDDM) self-care practices among older women. Journal of Aging and Health 13(4): 443-466.

Vijan, S., N. S. Stuart, J. T. Fitzgerald, D. L. Ronis, R. A. Hayward, S. Slater and T. P. Hofer. 2005. Barriers to following dietary recommendations in Type 2 diabetes. Diabetic Medicine 22(1): 32-38.

Wang, M. L., L. Gellar, B. H. Nathanson, L. Pbert, Y. Ma, I. Ockene and M. C. Rosal. 2015. Decrease in glycemic index associated with improved glycemic control among Latinos with type 2 diabetes. Journal of the Academy of Nutrition and Dietetics 115(6): 898-906.

Wen, L. K., M. L. Parchman and M. D. Shepherd. 2004. Family support and diet barriers among older Hispanic adults with type 2 diabetes. Clinical Research and Methods 36(6): 423-430.