บทบาทของทุนทางสังคมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

จุฑามาศ โชติบาง
อุษณีย์ จินตะเวช
สมจิต เกียรติวัฒนเจริญ
จันท์พิมพ์ สารากร

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และทุนทางสังคมในชุมชนที่สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตั้งอยู่ในเขตเมืองติดกับเขตข้ามแดน มีครูจำนวน 3 คน ผู้ช่วยครูจำนวน 6 คน แบ่งเป็น 3 ห้องเรียน รับดูแลเด็กจำนวน 90 คน อายุ 2-3 ปี เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญในชุมชน ได้แก่ ผู้บริหารและข้าราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (เช่น นายกเทศมนตรี รองนายกฯ ปลัด ผู้อำนวยการกองการศึกษา ผู้อำนวยการกองสาธารณสุข) เจ้าหน้าที่สาธารณสุข นักวิชาการศึกษา ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน พระสงฆ์ ผู้ปกครอง ครูและรักษาการหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ผลการศึกษา พบว่า ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร ยังคงประสบปัญหาทั้ง 5 ด้านคือ 1) ด้านบริหารจัดการ 2) ด้านสิ่งแวดล้อม 3) ด้านการจัดหลักสูตรการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ 4) การดูแลสุขภาพ 5) การมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน โดยมีทุนทางสังคมที่หมายถึง ทรัพยากรที่มีศักยภาพทั้งหมดที่มีอยู่ในชุมชนในแต่ละด้านได้มาบูรณาการงานร่วมกันเพื่อพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัย ได้แก่ 1) ทุนบุคคลที่ประกอบด้วยผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งผู้นำทางศาสนา ผู้นำชุมชน และปราชญ์ชุมชน 2) ทุนเครือข่าย เช่น กลุ่มแม่บ้าน เยาวชน ผู้สูงอายุ และองค์กรภายนอก 3) ทุนด้านสถานที่และแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และ 4) ทุนด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น การศึกษาทุนทางสังคมในชุมชนทำให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำทุนทางสังคมในพื้นที่มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพเด็กปฐมวัยในชุมชนอย่างยั่งยืนต่อไป

Article Details

How to Cite
[1]
โชติบาง จ., จินตะเวช อ., เกียรติวัฒนเจริญ ส. และ สารากร จ. 2018. บทบาทของทุนทางสังคมในการพัฒนาศักยภาพศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 2 (พ.ค. 2018), 325–350.
บท
บทความวิจัย

References

กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. 2556. การใช้ทุนทางสังคมเพื่อการดูแลสุขภาพชุมชน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี 24(1): 66 - 72.

โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ของประเทศไทย. 2558. คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาและงบประมาณ โดยใช้ทุนทางสังคมเป็นฐาน. สถาบันพระปกเกล้า, กรุงเทพฯ. 189 หน้า.

จินตนา กุลากุล. 2559. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับประสิทธิผลการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 337 – 348.

จุฑามาศ โชติบาง อุษณีย์ จินตะเวช จันท์พิมพ์ สารากร สมจิต เกียรติวัฒนเจริญ มาลี เอื้ออำนวย และมานะ ช่วยชู. 2556. เครื่องมือชุดที่ 1. โครงการสร้างเสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นในการดูแลเด็กวัย 2-5 ปี. Good Work Media, เชียงใหม่. 36 หน้า.

จุฑามาศ โชติบาง อุษณีย์ จินตะเวช จันท์พิมพ์ สารากร สมจิต เกียรติวัฒนเจริญ, มาลี เอื้ออำนวย และมานะ ช่วยชู. 2558. ข้อกำหนดด้านกระบวนการและผลลัพธ์เพื่อเทียบเคียงความสามารถในการพัฒนาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. Good Work Media, เชียงใหม่. 66 หน้า.

ชาย โพธิสิตา. 2552. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 4. อมรินทร์พริ้นติ้ง, กรุงเทพฯ. 454 หน้า.

ดำรงศักดิ์ จันโททัย. 2555. การเสริมสร้างทุนทางสังคมในชุมชนของเมืองไทย. วารสารวิจัยสังคม (35): 23-51.

นิตยา เดชโคบุตร, นุจรี ใจประนบ และพุฒิพงษ์ หงส์ทอง, 2560. ทุนทางสังคมของชาติพันธุ์ผู้ไทเพื่อการพัฒนา: กรณีศึกษาบ้านม่วงไข่ ตำบลคุ้มเก่า อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารช่อพยอม 28(2): 286-295.

บัณฑิตา ชำนาญกิจ, 2557. การประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านห้วยสะพานสามัคคี ตำบลหนองโรง อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 25(2): 25-36.

เพ็ญศิริ พันพา. 2551. ทุนทางสังคม วัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย. เอกสารคำสอน. วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง.

วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. 2548. ทุนทางสังคม. โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.), กรุงเทพฯ. 206 หน้า.

วุฒิชาติ ทอนศรี ชูพักตร์ สุทธิสา และกนกพร รัตนสุธีระกุล. 2557. ทุนทางสังคม และทุนทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์เขมรกับการป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมภ์ (9)1: 93-103.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2555. ยุทธศาสตร์ประเทศไทยใน 2 ทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2556-2574) ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: https://www.nesac.go.th/
web/upload/modDocument/file_1286335836568_tn-31-486.pdf (28 กันยายน 2559)

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. 2555. นโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยของชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2555-2559). (ระบบออนไลน์) แหล่งข้อมูล: https://www1.nrct.go.th/index.php?mod=contents&req=view&id=1402
(28 กันยายน 2559)

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550. นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะยาว พ.ศ. 2550-2559. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, กรุงเทพฯ. 56 หน้า.

Baron, S., J. Field and T. Schuller. 2000. Social capital: critical perspectives. Oxford University Press, Oxford. 320 p.