การเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการหลวง: กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาโครงการหลวงผาตั้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่ออธิบายคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนไปจากการเข้าร่วมเป็นเกษตรกรของศูนย์พัฒนาโครงการหลวง โดยผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 29 คนซึ่งเป็นเกษตรกรที่ได้มาจากการคัดเลือกด้วยเทคนิคการเลือกตัวอย่างแบบลูกโซ่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้าง ใช้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ตรวจสอบข้อมูลสามเส้าด้านวิธีการรวบรวมข้อมูลและด้านผู้วิจัย ทั้งนี้ได้ดำเนินการวิจัยบนหลักการรักษาสิทธิมนุษยชนของผู้ให้ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่าหลังเข้าร่วมเป็นเกษตรกรของโครงการหลวง เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกด้าน ได้แก่ ด้านบุคคล ด้านครอบครัว ด้านสังคมและเศรษฐกิจ และด้านสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้เพราะเมื่อเกษตรกรเข้าร่วมกับศูนย์ฯ ทำให้ได้รับประสบการณ์ในแง่มุมต่าง ๆ ในทางตรงและทางอ้อม จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมและคุณภาพชีวิตในมิติต่าง ๆ ของระดับบุคคลนั่นเอง
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ชลิต ศานติวรางคณา. 2558. คุณภาพชีวิตของเกษตรกร: กรณีศึกษาในเขตพื้นที่ภาคกลาง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี 7(2): 55-62.
ณฐิตากานต์ ปินทุกาศ. 2558. การปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการผลิตผักอินทรีย์ของเกษตรกรรมบนที่สูงอำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(3): 299-307.
ณิชารีย์ ใจคำวัง. 2559. ผลกระทบทางสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสุขภาพจากการใช้สารเคมีในการปลูกยาสูบของเกษตรกรตำบลปากแคว อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 401-416.
นภาพร ทางทิศ และ วรทัศน์ อินทรัคคัมพร. 2558. รูปแบบการดำเนินงานในการพัฒนาพื้นที่สูงของโครงการหลวงที่สามารถนำไปพัฒนาพื้นที่สูงในประเทศไทย. วารสารวิชาการและวิจัย มทร.พระนคร ฉบับพิเศษ การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ครั้งที่ 5: 344-353.
นภาพร เวชการมา และ รวี หาญเผชิญ. 2556. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการวิเคราะห์ศักยภาพเชิงพื้นที่เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรชาวสวนยางพารา จังหวัดบึงกาฬ. วารสารเกษตรพระวรุณ 10(2): 175-182.
ปิยะวัฒน์ ตรีวิทยา. 2559. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่. 49(2): 171-184.
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. 2556. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้เกี่ยวกับโรคที่เกิดจากการประกอบอาชีพของเกษตรกรสวนยางพารา. วารสารสาธารณสุขศาสตร์ 43(3): 258-267.
พงษ์ศักดิ์ อ้นมอย และ พีรญา อึ้งอุดรภักดี. 2559. การประเมินผลกระทบทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกรผู้ปลูกหอมแดงตำบลชัยจุมพล อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 4(3): 416-428.
มูลนิธิโครงการหลวง. 2555. งานพัฒนาของโครงการหลวง. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.royalprojectthailand.com/development (1 กรกฎาคม 2560)
เริงชัย ตันสุชาติ และ ธรรญชนก คำแก้ว. 2552. ดัชนีวัดความสุขและความอยู่ดีมีสุขของสมาชิกชุมชนในมูลนิธิโครงการหลวง. วารสารเศรษฐศาสตร์ 13(2): 1-27.
ศิรินันท์ กิตติสุขสถิต เฉลิมพล แจ่มจันทร์ กาญจนา ตั้งชลทิพย์ และ จรัมพร โห้ลำยอง. 2557. คุณภาพชีวิต การทำงาน และความสุข. พิมพ์ครั้งที่ 2. เอกสารทางวิชาการ. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แหล่งข้อมูล: https://www.nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422 (4 สิงหาคม 2560)
สำนักประเมินผลและเผยแพร่การพัฒนา. 2552. อยู่เย็นเป็นสุขยิ่ง ทุกสิ่ง ธ เมตตา. วารสารเศรษฐกิจและสังคม 46(4): 5-17.
อมรา พงศาพิชญ์. 2559. โครงการหลวง: รอยต่อระหว่างรัฐกับภาคประชาสังคม. วารสารวิจัยสังคม 39(2): 1-34.
Bandura, A. 1977. Self-efficacy: Toward a unifying theory of behavioral change. Psychological Review 84(2): 191-215.
Ferrans, C. E. 1996. Development of a conceptual model of quality of life. Scholarly Inquiry for Nursing Practice 10(3): 293-304.
Kolesnik, W. B. 1970. Educational Psychology. 2nd ed. McGraw-Hill, New York.
Nastasi, B. K. and S.L. Schensul. 2005. Contributions of qualitative research to the validity of intervention research. Journal of School Psychology 43(3): 177-195.
Thompson, A.W., A. Reimer and L.S. Prokopy. 2015. Farmers’ views of the environment: the influence of competing attitude frames on landscape conservation efforts. Agriculture and Human Values 32(3): 385–399.
Vogel,S. 1996. Farmers’ environment attitudes and behavior: a case study for Austria. Environment and Behavior 28(5): 591-613.