ประเมินผลโครงการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยชุมชนมีส่วนร่วม

Main Article Content

วิกานดา ใหม่เฟย
ฐิระ ทองเหลือ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลโครงการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ต้นแบบโดยชุมชนมีส่วนร่วมโดยใช้ตัวแบบซิปป์ (CIPP Model) เป็นกรอบในการประเมินโครงการ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบทหรือสภาพแวดล้อมของโครงการ  ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการ ผลการประเมินในภาพรวมพบว่าโครงการประสบความสำเร็จอย่างมาก โดยที่ประสบความสำเร็จด้านผลผลิตตามวัตถุประสงค์มากที่สุด ซึ่งสะท้อนถึงความพึงพอใจของชุมชนตำบลแม่ทรายต่อผลิตภัณฑ์ที่ถูกคัดเลือกในการพัฒนาไปสู่การเป็นผลิตภัณฑ์ตำบล การจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อให้ชุมชนมีรายได้เสริมและช่วยยกระดับเศรษฐกิจของตำบลให้ดีขึ้นบนฐานศักยภาพทุนของชุมชนและการมีส่วนร่วม สิ่งที่ควรปรับปรุงคือบริบทด้านสถานที่จัดจำหน่ายสินค้าที่ถูกคัดเลือก และการทำให้ชุมชนได้รับรู้และเข้าใจถึงความสอดคล้องของแผนพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนกับแผนพัฒนาในทุกระดับเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมให้มากขึ้น

Article Details

How to Cite
[1]
ใหม่เฟย ว. และ ทองเหลือ ฐ. 2018. ประเมินผลโครงการวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนตำบลแม่ทราย อำเภอร้องกวาง จังหวัดแพร่ เพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ต้นแบบ โดยชุมชนมีส่วนร่วม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 2 (พ.ค. 2018), 285–307.
บท
บทความวิจัย

References

กำจร ตติยกวี. 2558. งานวิจัยกับการพัฒนาประเทศ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 3(1): 1-4.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. 2556. ชุมชนเข้มแข็ง สังคมน่าอยู่ เศรษฐกิจยั่งยืนด้วยงานวิจัย. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 1(2): 1-5.

ทิชากร เกสรบัว. 2558. กลยุทธ์การเพิ่มศักยภาพแข่งขันทางการตลาดสำหรับผู้ประกอบการรายใหม่ (ประเภทเครื่องจักสาน) ในตลาดอาเซียน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรกรทำนาข้าวบ้านบางพลวง อำเภอบ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 23(41): 225-247.

ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. 2555. การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน.เอกสารประกอบการสอนวิชา 751321. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 212 หน้า.

ธวัชชัย บุญมี เดชวิทย์ นิลวรรณ มานพ ชุมอุ่น จิรวรรณ บุญมี รัชนี เสาร์แก้ว ศุภฤกษ์ ธารา พิทักษ์วงศ์ และเบญจพร หน่อชาย. 2557. การวิจัยและพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านสันทรายต้นกอก ตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(1): 63-72

ประสพชัย พสุนนท์. 2557. การกำหนดขนาดตัวอย่างตามแนวทาง Krejcie and Morgan (1970) ในการวิจัยเชิงปริมาณ.วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์ 7(2): 112-120.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. 2557. แนวคิดและกระบวนการประเมินโครงการ. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 7(1): 1-12.

มาลิณี ศรีไมตรี และนิภา ชุณหภิญโญกุล. 2560. การพัฒนากิจกรรมทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์หวดนึ่งข้าวอัจฉริยะของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนจักสานเชิงนวัตกรรม. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(2): 215-225.
วิกานดา ใหม่เฟย. 2557. ประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจ รากฐานสำคัญของประชาธิปไตยอันสมบูรณ์.วารสารแม่โจ้ปริทัศน์ 15(3): 58-63.

รัตนะ บัวสนธ์. 2556. รูปแบบการประเมิน CIPP และ CIPPEST มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนและถูกต้องในการใช้.วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย 5(2): 7-24.

เสกสัน ไชยวุฒิ. 2558. การพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชนตำบลน้ำเกี๋ยน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. 61 ชุดความรู้พื้นที่รูปธรรมเศรษฐกิจและทุนชุมชนจัดการตนเอง. สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ. 83 หน้า.

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. 2558. คู่มือสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน. สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน), กรุงเทพฯ. 54 หน้า.

อโณทัย พรมชัย. 2552. โครงการประเมินผลกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนชาวเขาเผ่าม้งและเย้า ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง จังหวัดพะเยา. รายงานวิจัย. ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรุงเทพฯ. 17 หน้า.

Craig, R. L. 1987. Training and Development Handbook: A Guide to Human Resource Development. 3rd ed. McGraw–Hill, New York. 1071 p.