แนวทางการพัฒนาและการจัดการเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พืชผักอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวทางการพัฒนาและจัดการเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชผักอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้วิธีการวิจัยวิจัยเชิงคุณภาพ (qualitative research) เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม และหลักการทำงานแบบหุ้นส่วน (partnership) ระหว่างนักวิจัยกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชผักอินทรีย์ จำนวน 57 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก (in depth interview: IDI) การสังเกตแบบมีส่วนร่วม (participant observation) การสนทนากลุ่ม (focus group discussion: FGD) และใช้วิธีการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลแบบสามเส้า (methodological triangulation) ผลจากการวิจัยพบว่า แนวทางการรวมกลุ่มในรูปแบบเครือข่ายของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนพืชผักอินทรีย์ จังหวัดเชียงใหม่ มีประเด็นที่ กลุ่มวิสาหกิจพืชผักอินทรีย์ ได้ร่วมนำเสนอแนวทางการรวมกลุ่มในรูปแบบเครือข่าย มี 5 ประเด็น คือ 1. แนวทางการเกิดขึ้นของเครือข่าย 2. การจัดโครงสร้างองค์กรเครือข่าย 3.การวางแผนการผลิต 4. การตลาด 5. การสื่อสารของเครือข่าย และ 6. การพัฒนาเครือข่ายให้เกิดความยั่งยืนและเข้มแข็ง
Article Details
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจและแก้ไขบทความที่เสนอเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต
บทความหรือข้อความคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต เป็นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะคณะผู้จัดทำไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย และไม่ใช่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยและคณะผู้จัดทำ / บรรณาธิการ
References
ไพศาล มุ่งสมัคร ถนอมศักดิ์ สุวรรณน้อย สรชัย พิศาลบุตร และศิวะศิษย์ ช่ำชอง. 2556. รูปแบบการจัดการที่ประสบความสำเร็จของกลุ่มเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน ผลิตภัณฑ์สมุนไพร กลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารสมาคมนักวิจัย 18(3): 115-123.
ยุพิน เถื่อนศรี และนิชภา โมราถบ. 2559. การพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกข้าวอินทรีย์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ กรณีศึกษา ตำบลวังกระพี้ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง 5(2): 116-132.
สมเกียรติ ฉายโช้น สมภพ ตติยาภรณ์ และวัชรี กลิ่นสอน. 2548. แนวทางการพัฒนาเครือข่ายกลุ่ม/องค์กรประชาชนในพื้นที่จังหวัดตรัง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ. 193 หน้า.
สัจจา บรรจงศิริ. 2556. การพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวชุมชนด้านการเกษตรในเขตอีสานใต้. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพ. 129 หน้า.
สุกัญญา ดวงอุปมา. 2557. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดีของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(2): 133-139.
สุขสรรค์ คำวงศ์ และเมตตา ตาละลักษณ์. 2557. การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน โดยใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 2(3): 305- 311.
สุจิตราภรณ์ จุสปาโล. 2560. แนวทางในการจัดการห่วงโซ่อุปทานผักปลอดสารพิษของวิสาหกิจชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(1): 155 – 162.
สุปราณี ระวังดี เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ และ บำเพ็ญ เขียวหวาน. 2558. การพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปและผลิตภัณฑ์อาหารในจังหวัดยโสธร วารสารแก่นเกษตร43 (ฉบับพิเศษ 1): 1001-1006
สำนักงานเกษตรจังหวัดกาฬสินธุ์. 2556. ข่าวสารวิสาหกิจชุมชน. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.kalasin.doae.th (8 ธันวาคม 2556).
อนุวัฒน์ ศุภชาติกุล. 2544. เส้นทางสู่โรงพยาบาลคุณภาพ คู่มือการเรียนรู้เชิงปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2 (ฉบับปรังปรุง). นนทบุรี: สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. 429 หน้า.
อภิสิทธิ์ พรมชัยและ ศุภสิทธิ์ สุวรรณะชฎ. 2554. ความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านห้วยกาน. วารสารการบริหารท้องถิ่น 4(2): 16-29.