การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง

Main Article Content

อัมเรศ เนตาสิทธิ์
ปริญญภาษ สีทอง
เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ
วิไลวรรณ กลิ่นถาวร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู ในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่องในเขตอำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนนำร่องในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้จำนวน 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลเมืองปาน โรงเรียนบ้านป่าเหว โรงเรียนแจ้ซ้อนวิทยา และโรงเรียนทุ่งกว๋าววิทยาคม ผลการวิจัยพบว่า 1) ทั้ง 4 โรงเรียนมีบริบทและความต้องการพัฒนาที่แตกต่างกัน 2) ผลการติดตามหนุนเสริมกระบวนการพัฒนากิจกรรม และการติดตามการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยใช้ระบบพี่เลี้ยง พบว่า ครูพัฒนากิจกรรมโดยเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะการคิดมากยิ่งขึ้น เน้นรูปแบบการจัดกิจกรรมแบบวิจัยเป็นฐาน และโครงงานเป็นฐาน เน้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และใช้วัสดุและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในชุมชน 3) ผลการสรุปกระบวนการการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครู ในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ พบว่า กระบวนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของครูแต่ละโรงเรียนมีความแตกต่างกันตามบริบท ความพร้อมของโรงเรียน และความต้องการของผู้เรียน

Article Details

How to Cite
[1]
เนตาสิทธิ์ อ., สีทอง ป., ชโนวรรณ เ. และ กลิ่นถาวร ว. 2018. การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูในการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ของโรงเรียนนำร่องในพื้นที่อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต. 6, 2 (พ.ค. 2018), 221–244.
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. 2545. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. เอกสารประกอบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ, กรุงเทพฯ. 157 หน้า.

ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. 2560. ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนามาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ 10(1): 40.

นวรัตน์ รามสูต และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. 2558. ข่าวสำนักงานรัฐมนตรี การแถลงนโยบายด้านการศึกษา. (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://www.moe.go.th/websm/2015/aug/284.html (9 กุมภาพันธ์ 2559).

นวรัตน์ ไวชมภู และสุจิตรา จรจิตร. 2560. การเปลี่ยนแปลงสู่ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในศตวรรษที่ 21 ของอาจารย์พยาบาล. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 4(1): 269.

มณฑา ชุ่มสุคนธ์ และ นิลมณี พิทักษ์. 2559. ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL) ในการสอนรายวิชาการศึกษาเพื่อการพัฒนาสิ่งแวดล้อม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 39(4): 49-50.

ปทุมวดี ศิริสวัสดิ ทวิช วิริยา และสิระ สมนาม. 2560. คุณลักษณะของครูในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต 5(3): 494.

ประกายฉัตร ขวัญแก้ว พัชรา วาณิชวศิน และสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. 2560. ผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน Project-Based Learning (PjBL) ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการเลขานุการผลของการจัดการเรียนรู้แบบโครงการเป็นฐาน Project-Based Learning (PjBL) ที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการเลขานุการ. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้ 9(1): 1-6.

วิจารณ์ พานิช. 2555. วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์, กรุงเทพฯ. 416 หน้า.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35 (ลำปาง-ลำพูน). 2558. ผลการดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบาย “ลดเวาลเรียน เพิ่มเวลารู้” (Moderate Class Knowledge) ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา 2558. สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ลำปาง. 5 หน้า.

สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ. 2558. นโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลเอก ดาวพงษ์ รัตนสุวรรณ). (ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://skprivate.go.th/wp-content/uploads/2015/12/policy_edu59.pdf (9 กุมภาพันธ์ 2559).

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. 2558. คู่มือบริหารจัดการเวลาเรียนตามนโยบาย “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้”. สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กรุงเทพฯ. 97 หน้า.

สำนักงานประชาสัมพันธ์เขต 3 เชียงใหม่. 2546. พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคล ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิตฯ วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2546 (ฉบับไม่เป็นทางการ).
(ระบบออนไลน์). แหล่งข้อมูล: https://region3.prd.go.th/king60/speech2003_1204.php (15 กุมภาพันธ์ 2559)

Bernstein, D. M. 1999. Recover from mild head injury. Brain Injury 13(3): 151-172.

Havighurst. R. J. 1972. Developmental Tasks and Education. 3rd ed. David McKay Publications, United States. 119 p.

Krippendorff, K. 2004. Content Analysis: An Introduction to Its Methodology. Sage Publications, United States. 413 p.

Maslow Abraham H. 1987. Motivation and Personality. 3rd ed. Pearson Education, United Kingdom. 335 p.

Mccelland, D.C. 1953. The Achievement Motive. Appleton Century Crofts, New York. 384 p.