คัมภีร์พุทธโฆสาจริยนิทาน : การชำระและการวิเคราะห์

ผู้แต่ง

  • พระมหาอนันตชัย ชินาสโภ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

คัมภีร์, พุทธโฆสาจริยนิทาน, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ 2) เพื่อปริวรรต ตรวจชำระคัมภีร์พุทธโฆสาจริยนิทานจากต้นฉบับภาษาบาลีอักษรขอมเป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย และ 3) เพื่อวิเคราะห์คัมภีร์พุทธโฆสาจริยนิทาน การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงเอกสาร โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากต้นฉบับคัมภีร์ พุทธโฆสาจริยนิทาน ฉบับสมบูรณ์ที่สุดจำนวน 3 ผูก ปริวรรตต้นฉบับภาษาบาลีอักษรขอมให้เป็นภาษาบาลีอักษรไทย และแปลเป็นภาษาไทย วิเคราะห์เนื้อหาโดยเปรียบเทียบกับคัมภีร์สำคัญอื่น ๆ เช่น พระไตรปิฎก และคัมภีร์อรรถกถา ผลการวิจัยพบว่า

1) ชีวิตและผลงานของพระพุทธโฆสาจารย์ พระพุทธโฆสาจารย์เป็นพระคันถรจนาจารย์ชาวอินเดียในช่วงพุทธศตวรรษที่ 10 ผลงานสำคัญคือ วิสุทธิมรรค ซึ่งรวบรวมคำสอนเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรม ท่านมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังหลายประเทศ โดยเฉพาะการประดิษฐานในศรีลังกา

2)  การปริวรรตคัมภีร์ พุทธโฆสาจริยนิทาน คัมภีร์นี้ประพันธ์โดยพระมหามังคลเถระ มีเนื้อหาครอบคลุมชีวิตของพระพุทธโฆสาจารย์ ตั้งแต่การศึกษาในอินเดียและศรีลังกา การรจนาคัมภีร์ เช่น วิสุทธิมรรค และบทบาทในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การวิจัยได้แปลและตรวจสอบคัมภีร์ 3 ผูกที่สมบูรณ์ที่สุด เพื่อเผยแพร่ความรู้ในภาษาไทย

3) การวิเคราะห์คัมภีร์ พุทธโฆสาจริยนิทาน คัมภีร์นี้เขียนแบบร้อยแก้วผสมร้อยกรอง และอ้างอิงคัมภีร์สำคัญหลายแห่ง เช่น พระไตรปิฎกและคัมภีร์อภิธัมมาวตาร จึงมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์และพัฒนาการของพุทธศาสนา โดยเฉพาะการแพร่ขยายจากอินเดียสู่ศรีลังกาและบทบาทของพระพุทธโฆสาจารย์ในการพัฒนาพุทธศาสนาเถรวาท

References

จารุภา ประวงษ์. (2552). การตีความภาพพระพุทธโฆสาจารย์เดินทางไปสืบพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนาคารกรุงเทพ. (2519). เรื่องพระพุทธโฆษา หรือพระพุทธโฆสะ และตำนานพระปริตร.กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ถวายมุทิตาสักการะเนื่องในการสมโภชสุพรรณบัฏและทำบุญอายุ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ชุตินฺธโร มหาเถระ) วัดสามพระยา.

เนทิษ รุจิรรุจนะ. (2532). การศึกษาเชิงวิเคราะห์คัมภีร์วังสมาลินี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บาลี พุทธรักษา. (2544). มหาวังสมาลินี: การสอบชำระเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมพุทธศาสนาภาษาบาลีจากเอกสารตัวเขียนและแปลต้นฉบับเป็นภาษาไทย. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

พระธัมมกิตติมหาสามี. (2515). สทฺธมฺมสงฺคโห. สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย แปล.กรุงเทพมหานคร: พุทธอุปถัมภ์การพิมพ์.

พระมหาดาวสยาม วชิรปัญโญ. (2550). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในอินเดีย: The History of Buddhist in India. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: หจก.เม็ดทรายพริ้นติ้ง.

พระมหาบูรณะ โพธิ์นอก. (2554). คัมภีร์วิสุทธิมัคคคัณฐี: การตรวจชำระและการศึกษาวิเคราะห์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหามังคลเถระ. (2456). พุทธโฆสนิทาน: เรื่องพระพุทธโฆสาจารย์ไปแปลพระปริยัติธรรมในลังกาทวีป. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมมตอมรพันธ์ หอพระสมุดวชิรญาณ แปล. พระนคร: พิมพ์แจกในการปลงศพ แย้ม ภรรยาพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย).

พระมหาสยาม ราชวัตร. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบไตรสิกขาในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกับคัมภีร์วิมุตติมรรค. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

พัฒน์ เพ็งผลา. (2546). ประวัติวรรณคดีบาลี. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2515). ตำนานคณะสงฆ์. พระนคร: โรงพิมพ์สามมิตร.

สุภาพรรณ ณ บางช้าง. (2526). ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หอสมุดแห่งชาติแห่งชาติ. (2567). รายการทะเบียนเอกสารโบราณ: คัมภีร์ใบลาน. [ออนไลน์]. สืบค้นจาก https://manuscript.nlt.go.th/%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B8%9A%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%99

อภิวัฒน์ โพธิ์สาน. (2549). ชีวิตและผลงานของนักปราชญ์พุทธ. มหาสารคาม: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25