วิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, เชิงพุทธ, ชุมชนภูผาฟ้าน้ำบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้สำรวจผลกระทบแนวปฏิบัติของชาวพุทธเถรวาทต่อคุณภาพชีวิต โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ 1. การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักพระพุทธศาสนาเถรวาท 2. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ 3. วิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพุทธของชุมชนภูผาฟ้าน้ำ ต.ป่าแป๋ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า การประพฤติตามหลัก ภาวนา ที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีใน ด้านสำคัญ ได้แก่ พัฒนากาย, พัฒนาศีล, พัฒนาจิต, และพัฒนาปัญญา โดยความเป็นผู้นำเชิงพุทธของ ดร.ใจเพชร กล้าจน ได้บูรณาการเป็นองค์ความรู้เป็น กระบวนการแก้ทุกปัญหา 5 ประการ ได้แก่ (1) คบและเคารพมิตรดี (2) มีอริยศีล (3) ทำสมดุล (4) พึ่งตน (5) แบ่งปันด้วยใจบริสุทธิ์ ส่งผลให้ชุมชนภูผาฟ้าน้ำมีความก้าวหน้าในหลายมิติและพึ่งตนได้อย่างผาสุก จนมีคนศรัทธามาขอความช่วยเหลือในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
การศึกษาดังกล่าวสร้างความเป็นอยู่ที่ดีของชุมชนสอดคล้องกับหลัก ภาวิต ได้แก่ ชีวิตพอเพียงเรียบง่าย, กายแข็งแรง, จิตใจดีงาม, และปัญญาผาสุก เป็นคุณภาพชีวิตแบบพุทธบูรณาการ ประสบการณ์ของชุมชนภูผาฟ้าน้ำเป็นข้อมูลเชิงลึกที่มีคุณค่าสำหรับความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์การพัฒนาบริบทชุมชน เมื่อนำหลักการเหล่านี้ไปใช้ทำให้ชุมชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างน่าทึ่ง บทความวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงศักยภาพของแนวปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาเถรวาทในการพัฒนาชุมชนให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี และเสริมสร้างความสุขที่แท้จริง
References
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). วาทะธรรมเพื่อประโยชน์สุขของพหุชน. กรุงเทพมหานคร :ปาเจรา.
พ่อครูสมณะโพธิรักษ์. (2566). “ปััญญา 8” เล่่ม 2. พิมพ์ครั้งแรก. กรุงเทพมหานคร: อุษาการพิมพ์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม ฉบับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ป.อ.ปยุตฺโต. (2546). พุทธธรรมฉบับขยาย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2550). คุณภาพชีวิตของคนไทย ประจำปี 2550. รายงานการวิจัย. สำนักวิจัย: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อภิชัย พันธเสน. (2565). ภาวะผู้นำภายใต้บริบทนวัฒกรรมสังคม. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่ 13, [ออนไลน์], แหล่งที่มา https://www.nesdc.go.th/download/document/Yearend/2021. [2/2/2562]
พัลลภ หารุคำจา. (2561). การพัฒนาแผนชุมชนพึ่งตนเองเชิงพุทธในจังหวัดลำพูน. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระศุภชัย ปญฺญฺาวชิโร (เปลื้องกระโทก). (2562). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ใจเพชร กล้าจน. (2558). จิตอาสาแพทย์วิถีพุทธเพื่อมวลมนุษยชาติ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. สาธารณสุขชุมชน.บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
นิตยาภรณ์ สุระสาย. (2563). รูปแบบการบูรณาการวัฒนกรรมการแพทย์วิถีธรรม. ดุษฎีนิพนธ์นิพนธ์.สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ลักขณา แซ่โซ้ว. (2565). วิเคราะห์ศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์.
ปรางทิพย์ ภักดีคีรีไพรวัลย์. (2559). “การศึกษาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนบ้านแสนตอ จังหวัดลำปาง”,สารนิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและนโยบายสวัสดิการสังคม, สังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระศุภชัย ปญฺาวชิโร (เปลื้องกระโทก). (2562). บทบาทของพระสงฆ์ที่มีต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ใจเพชร กล้าจน. (2559). บรรยายในค่ายสุขภาพแพทย์วิถีธรรม ณ ศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สวนป่านาบุญ 1 อ.ดอนตาล จ.มุกดาหาร (23 กันยายน 2559).
โรเบิร์ต วาลดิงเจอร์.(2565). Harvard Study of Adult Developmen. [ออนไลน์] สืบค้นจากhttps://www.adultdevelopmentstudy.org
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.