ซาร์โค แคปซูลการุณยฆาต : มุมมองในทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • ยุรธร จีนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แคปซูลการุณยฆาต, มุมมองพระพุทธศาสนา, การฆ่าตัวตาย

บทคัดย่อ

             บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดการกระทำการุณยฆาตโดยใช้แคปซูล ซาร์โค ในมุมมองของพระพุทธศาสนาด้านจริยธรรม  การเกิดขึ้นของนวัตกรรมเทคโนโลยี แคปซูล การุณยฆาต ที่ชื่อ ซาร์โค ซึ่งผ่านการรับรองทางกฎหมายจากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถือเป็นความท้าทายในเรื่องของจริยศาสตร์ที่ต้องหาเหตุผลมาอธิบายถึงสิทธิในการตัดสินใจเพื่อจบชีวิตของตนเอง เพราะไม่สามารถที่จะทนอยู่มีชีวิต อันเนื่องมาจากสภาพความเป็นทุกข์ทั้งทางร่างกายที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บที่ไม่มีวันรักษาให้หายขาด หรือโรคทางจิตใจที่ไม่สามารถยอมรับการมีชีวิตอยู่ต่อไปได้  โดยในมุมมองของพระพุทธศาสนาต่อการุณยฆาต ไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม ถือว่า ซาร์โค อาจไม่ผิดศีลในข้อปาณาติบาตเพราะไม่ได้ฆ่าผู้อื่น แต่อาจผิดธรรมคือทำให้จิตใจเศร้าหมอง  ประเด็นเรื่องกรรมหรือกฎแห่งกรรม การทำการุณยฆาตเหมือนเป็นการไปแทรกแซงผลของกรรมที่กำลังให้ผลกับบุคคลผู้นั้น ด้วยเหตุนี้พระพุทธศาสนาจึงคัดค้านในเรื่องของการุณยฆาต  ดังนั้น ซาร์โค แคปซูลการุณยฆาต จึงเป็นนวัตกรรมวิทยาการสมัยใหม่ที่อาจไม่สอดคล้องกับหลักจริยธรรมทางพระพุทธศาสนา  

References

โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์. (2548). พหุลักษณ์ทางการแพทย์: มุมมองมานุษยวิทยา กับความหลากหลายของวัฒนธรรมสุขภาพ. พหุวัฒนธรรมทางการ แพทย์กับสุขภาพในมิติสังคมวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยา สิรินธร.

ข่าวไทยพีบีเอส. แคปซูลการุณยฆาตโจทย์ใหญ่ท้าทายกฎหมายในสวิตเซอร์แลนด์. ออน์ไลน์เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2567.จาก https://www.thaipbs.or.th/news/content/344645.

ทองย้อย แสงศิลป์ชัย. (2556). การุณยฆาตใช้อำนาจอะไรตัดสิน? อ่านว่า กา-รุน-ยะ-คาด. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2566ใ

เทียมจิตร์ พ่วงสมจิตร์. (2561). ความย้อนแย้งของการฆ่าตัวตายว่าด้วยทัศนะทางวิชาการเชิงพุทธกับความเชื่อของคนไทยและพุทธทัศนะ. วารสารไทยคดีศึกษา. 15(2), 209-248ใ

ธพิพัฒน์ วรพิพัฒนการกิจ. (2563). การุณยฆาต : สิทธิมนุษยชนที่ควรมีเพื่อคงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์. วารสารพัฒนศาสตร์. 3(2), 143-176.

ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. (2549). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมาย. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประพัฒน์พงศ์ สุคนธ์. (2529). การยกเว้นความรับผิดในการทำให้ผู้ป่วยตายด้วยความสงสาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูวิจารณ์โกศล กนฺตธมฺโม. (2566). มุมมองทางพระพุทธศาสนาเรื่องการุณยฆาตในสังคมไทยปัจจุบัน. วารสารนวังคสัตถุสาสน์ปริทรรศน์. 1(2), 48.

พระครูอาทรกิจจาภิรักษ์ และคณะ (2561). ศีล 5 กับปัญหาการุณยฆาต Five Precept and Euthanasia. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์. 3(3), 421-434.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) . (2559). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. (พิมพ์ครั้งที่ 34).กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ.

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) . (2559). พุทธธรรมฉบับปรับขยาย. (พิมพ์ครั้งที่ 46). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมมิก.

พระไพศาล วิสาโล. การุณยฆาตในมิติพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566. จากhttps://www.visalo.org/columnInterview/5409Image.htm

พระมหาชูชาติ ญาณวีโร (บุญศรี). (2556). การุณยฆาตในสังคมไทยและเกณฑ์การตัดสินในพระพุทธศาสนาEuthanasia in Thai Society and It’s Justification according to Buddhism. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย, สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.

พระมหาสุภวิชญ์ ปภสฺสโร. (2564). การุณยฆาต : บริบทสังคมไทยและพุทธจริยศาสตร์. วารสาร มจร เลย. 2(1), 40-50.

พระมหาสุรชัย ชยาภิวฑฺฒโน. (2560). พุทธจริยศาสตร์ ว่าด้วยปาณาติบาต. วารสารรามคำแหง ฉบับมนุษยศาสตร์ใ 36(1), 139-160.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีธรรมอธิษฐาน พรบันดาลชัย. (2563). ข้อโต้แย้งเรื่องการุณยฆาตในสังคมปัจจุบัน. วารสารวิชาการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร. 3(2), 47-58.

ศาสนจักรของพระเยซูคริสต์แห่งวิสุทธิชนยุคสุดท้าย. (ม.ป.ป.). การุณยฆาตและการยืดชีวิต. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566. จาก https://news-th.churchofjesuschrist.org

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2544). การสัมมนาเรื่อง “พินัยกรรมชีวิต”. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันเวชศาสตร์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2557). รายงานสรุปผลโครงการสัมมนา “สิทธิในการตาย (Living Will). กรุงเทพมหานคร : โรงพยาบาลสงฆ์.

สมภาร พรมทา. (2535). พุทธศาสนากับปัญหาจริยศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์พุทธชาด.

อาบีดีน พัสดุ. (ม.ป.ป.). การุณยฆาต. สืบค้นเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2566. จาก https://www.islammore.com/view

อำนาจ ยอดทอง. (2565). ปาณาติบาตในเบญจศีล : วิเคราะห์การใช้เครื่องจักรและโปรแกรมฆ่าสัตว์. วารสารวิจัยธรรมศึกษา. 5(1), 126-138.

Kimberly Holland, 2019 Kimberly Holland. (31 May 2019). Euthanasia: Understanding the fact. Retrieved January 13, 2023, From Website : https://www.healthline. com/health/what-is-euthanasia

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25