วิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการประกันชีวิตในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • กัญญารัตน์ รวมสุข -
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การประกันชีวิต, สังคมผู้สูงวัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและสภาพปัญหาของการประกันชีวิตในสังคมไทย   2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยว กับการประกันชีวิตในสังคมไทย 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการประกันชีวิตในสังคมไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  และเสริมด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนาม

ผลการวิจัย พบว่า  1) ในด้านบริบทการประกันชีวิตในสังคมไทย   ผู้วิจัยพบว่า ความคิดเห็นส่วนใหญ่ ผู้ให้ข้อมูลหลัักเห็นว่า มีความเหมาะสมมากที่สุด เรียงตามลำดับ ได้แก่ (1) นโยบายของบริษัทประกันชีวิต   (2) ตัวแทนประกันชีวิตได้อธิบายถึง สิทธิ ประโยชน์ และให้คำแนะนำกับผู้เอาประกัน   (3) ผู้เอาประกันมีความสนใจที่จะทำประกันกับบริษัทต่างประเทศมากกว่า  ด้านสภาพปัญหาพบว่า เกิดจากปัจจัย หลัก 2 ประการ ได้แก่   (1) ผู้เอาประกันไม่ได้ชำระเบี้ยประกันตามกำหนด   (2) ผู้เอาประกันปกปิดและแถลงข้อมูลอันเป็นเท็จ

2) ในด้านหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการประกันชีวิตในสังคมไทย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) หลักพุทธธรรมโดยตรง ได้แก่ เบญจศีล เบญจธรรม สุจริตธรรม 3  สังคหวัตถุธรรม 4 และ (2) หลักพุทธธรรมโดยอ้อม ได้แก่ กัลยาณมิตรธรรม 7 และ อัปปมาทธรรม(ความไม่ประมาท)

3)  การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการประกันชีวิตในสังคมไทย พบว่า หลักธรรม 5 หมวด คือ อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท) เบญจศีล เบญจธรรม สุจริตธรรม 3  สังคหวัตถุ  4 และ กัลยาณมิตรธรรม 7  ควรให้ตัวแทนประกันชีวิตนำมาประยุกต์ใช้ ต่อผู้เอาประกันและเพื่อนร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือว่าเป็นหลักการที่ดี ทุกคนควรมี ซึ่งจะทำให้การประกันชีวิต มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น

References

กันตนา ทองอินทร์. (2558). การนำเอาหลักคำสอนของศาสนาพุทธมาใช้ในการบริหารของนักธุรกิจในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารการบริหารท้องถิ่น. 8(1), 16-26.

ณัฎฐ์ภูอิสร์ ศรีเพชร. (2558). แนวทางการสร้างความไว้วางใจของลูกค้า ในธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. 3(2), 87.

บรรเลง ทับเที่ยง. (2543).ประกันภัยเพื่อความมั่นคง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนา

บริษัท แมนูไลฟ์ ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน). (2564). แบบรายงานเปิดเผยข้อมูล ประจำปี 2563 - 2564.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, (2535).พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏก 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย. (2551). คู่มือปฏิบัติงานสำหรับนายหน้าประกันชีวิต, กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย.

สุรดี เขียวหวาน, (2559). จรรยาบรรณ, [Online], แหล่งที่มา: กองการเจ้าหน้าที่ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง, http://hrm.ru.ac.th/file/004.pdf (11 มีนาคม 2559).

อัญชลี มีบุญ, (2552). ศึกษาเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหารที่สอดคล้องกับการปกครองในองค์กรภาครัฐ. Veridian E-Journal. Silpakorn University. 11(3), 1399-1408.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25