การศึกษาเปรียบเทียบจิตรกรรมฝาผนังไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นและแฟลตดีไซน์
คำสำคัญ:
จิตรกรรมฝาผนังไทย, จิตรกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น, แฟลตดีไซน์บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่องนี้ กล่าวถึงการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างภาพจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นกับแฟลตดีไซน์ เพื่อนำมาวิเคราะห์สัญญะ เปรียบเทียบโดยใช้ หลักองค์ประกอบของศิลปะ โดยชลูด นิ่มเสมอ ที่แบ่งเป็นสองส่วนสำคัญคือ ด้านรูปทรง และ ด้านเนื้อหา โดยค้นหาทั้งความเหมือนและความต่าง เพื่อนำมาวิเคราะห์ และคำนึงถึงการนำไปใช้ในการออกแบบสื่อในปัจจุบัน
จิตรกรรมฝาผนังสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น เกิดขึ้นในยุคก่อร่างสร้างเมืองของกรุงเทพมหานครช่วงปี พ.ศ. 2325-2394 ที่สร้างขึ้นเพื่อตกแต่งสถานที่และบอกเล่าเรื่องราวทางพุทธศาสนา รวมไปถึงบอกเล่าถึงแนวคิดและวิถีชีวิตของคนไทยสมัยก่อน เห็นได้ชัดว่าลักษณะของจิตรกรรมฝาผนังมีลักษณะเป็นภาพสองมิติคือ กว้าง และยาว ไม่มีความลึก แต่มีรูปทรงที่อ่อนช้อย หากเป็นภาพบุคคลก็จะแสดงท่าทางแบบนาฏลักษณ์ และเน้นการตัดเส้นที่หนักแน่นชัดเจน เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับแฟลตดีไซน์แล้วพบว่ามีทั้งความเหมือนและความต่างในหลากหลายมุมมองตามหลักองค์ประกอบของศิลปะ แต่เมื่อวิเคราะห์ในเชิงรูปทรงแล้วแฟลตดีไซน์มีความเหมือนกับภาพจิตรกรรมฝาผนังในยุคสมัยดังกล่าวโดยมีลักษณะเด่น คือ เป็นภาพที่มีความแบนและเน้นการตัดเส้นที่ชัดเจนเฉียบคม แตกต่างกันเพียงส่วนเนื้อหาที่ภาพจิตรกรรมฝาผนังจะเน้นเฉพาะเรื่องราวทางพุทธศาสนาเป็นหลัก ส่วนเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในแฟลตดีไซน์ นั้นจะสามารถถ่ายทอดได้อย่างหลากหลายมากกว่า โดยใช้เวลา สถานที่ และกำลังคนที่น้อยกว่าตามไปด้วย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการนำไปใช้งาน
แม้ว่าภาพจิตรกรรมแบบประเพณี และ แบบดิจิทัล จะมีลักษณะแตกต่างกันก็ตาม แต่ยังคงความเชื่อมโยงบางประการ เช่น เป็นภาพที่มีลักษณะแบน และ มีการตัดเส้นขอบ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดพัฒนาสร้างสรรค์งานในลักษณะอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต เนื่องจากภาพทั้งสองแบบเป็นภาพที่ถูกออกแบบมาเพื่อ ìสื่อî ข้อความบางสิ่งผ่าน ìสารî ที่มีในแต่ละยุคสมัย
References
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2563). มรกดภูมิปัญญา จิตรกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วัดราชสอทธาราม
วัดสุวรรณาราม และวัดทองธรรมชาติ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์ การพิมพ์ (1977) จำกัด.
คณะกรรมการอำนวยการจัดงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี. (2541). ศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1-8. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
งานอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง กองโบราณคดี กรมศิลปากร. (2530). ภาพไตรภูมิและชาดกที่เสาภายในวิหาร หลวงวัดสุทัศน์เทพวรารามวรวิหาร. วารสารเมืองโบราณ. 13(1), 91.
ชลูด นิ่มเสมอ. (2541). องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช
เนื้ออ่อน ขรัวทองเขียว. (2556). ความเข้าใจในจิตรกรรมไทยประเพณี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
น. ณ ปากน้ำ. (2540). ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดดุสิดาราม. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองรัตน์.
น. ณ ปากน้ำ. (2537). ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดคงคาราม. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
น. ณ ปากน้ำ. (2540). ชุดจิตรกรรมฝาผนังในประเทศไทย วัดสุวรรณาราม. พิมพ์ครั้งที่สอง. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
วรรณิภา ณ สงขลา. (2533). การอนุรักษณ์จิตรกรรมฝาผนัง วัดทองธรรมชาติราชปฏิสังขรณ์วรวิหาร. พิมพ์เนื่องในโอกาสครบรอบ 59 ปี ธนาคารนครธน: ศิริวัฒนาการพิมพ์.
ศิลป์ชัย ชิ้นประเสริฐ. (2524). วิเคราะห์ภาพจิตรกรรมฝาผนังในหอไตรวัดระฆังโฆสิตาราม. วารสารเมืองโบราณ. 8(1), 103-107.
สำนักสถาปัตยกรรมและหัตถศิลป์ กรมศิลปากร. (2547). คุณลักษณะในจิตรกรรมไทย. นครปฐม: โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Carolina Amell. (2015). Flat Illustration. Instituto Monsa de Edicones: Spain: Printed by Indice
Carrie Cousins. (2013). Principles of flat designs. เข้าถึงเมื่อ 25 July 2024. เข้าถึงจาก
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.