รูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา

ผู้แต่ง

  • สุรชัย พุดชู มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย 0000-0002-5537-1234
  • แม่ชีเนตรนภา สุทธิรัตน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • อริสา สายศรีโกศล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ศาสตร์แห่งการตีความ, การตีความเชิงปรัชญา, ธัมมปทัฏฐกถา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดและทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความทั่วไป พัฒนาศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา และนำเสนอรูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาเอกสารจากพระไตรปิฎก อรรถกถา วรรณกรรมและบทความที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดศาสตร์แห่งการตีความ จากนั้น วิเคราะห์เนื้อหาด้วยการจำแนกประเภทของข้อมูลและวิเคราะห์เชิงพรรณนาปรากฏการณ์ที่ปรากฏในคัมภีร์

ผลการวิจัยพบว่า 1. การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความ โดยแนวคิดศาสตร์แห่งการตีความทางตะวันตกมีลักษณะเป็นแนวคิดทางเทววิทยา ปรัชญาสังคม และอัตถิภาวนิยม ส่วนทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความเป็นการตีความทางศาสนาและการตีความสากล สำหรับแนวคิดศาสตร์แห่งการตีความในพุทธปรัชญาจำแนกเป็นแบบจำกัดความ ขยายความ อธิบายความ และวินิจฉัยความ ส่วนทฤษฎีศาสตร์แห่งการตีความเป็นทฤษฎีปฏิสัมพัทธนิยม 2. การพัฒนาศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาพบแนวคิดหลัก คือ 1) การตีความแบบพุทธภาษิต ดังปรากฏในเรื่องธัมมิกอุบาสก 2) การตีความแบบเนตติปกรณ์ ดังปรากฏในเรื่องพราหมณ์ชื่อจูเฬกสาฎก 3. การนำเสนอรูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ 1) การตีความแบบพุทธภาษิต ซึ่งมีฐานคิดแบบ DEED Concept 2) การตีความแบบเนตติปกรณ์ โโดยเฉพาะตามหลักของหาระ 16 ในข้อเทสนาหาระและวิจยหาระ องค์ความรู้จากการวิจัย คือ การได้รูปแบบการตีความ 1) แบบพุทธภาษิตที่มีลักษณะแบบหัวก้าวหน้า-ตีความตามบริบท-มีฐานคิดแบบ DEED Concept-ตีความเชิงบุคลาธิษฐาน 2) แบบเนตติปกรณ์ที่เน้นอนุรักษนิยม-ตีความตามตัวบท-มีฐานคิดตามหลักอริยสัจ-ตีความเชิงธรรมาธิษฐาน

References

กีรติ บุญเจือ. (2541). ศาสนศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: บริษัทไทยวัฒนาพานิชจำกัด.

เกศนี นุชทองม่วง. (2556). อรรถกถาธรรมบท: การศึกษาในฐานะวรรณกรรมคำสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

คนึงนิตย์ จันทบุตร. (2543). แนวคิดทิศทางการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. ปทุมธานี: นาคร.

ประคอง เจริญจิตรกรรม. (2556). หลักการเขียนวิจารณ์วรรณกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พนารัตน์ จันทร์สิทธิเวช. (2559). การศึกษาวิเคราะห์การตีความหลักธรรมของเชอเกียม ตรุปะ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2550). การตีความพุทธศาสนสุภาษิต. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียง.

พระประยูร จีนา. (2546). การแนะแนวของพระพุทธเจ้าในอรรถกถาธรรมบท. เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พระมหาสาคร วรธมฺโมภาโส. (2560). การศึกษาเชิงวิเคราะห์กฎแห่งกรรมที่ปรากฏในอรรถกถาธรรมบท. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา. 8 (2), 11-23.

พระมหาสิทธิทัศน์ สนเทียนวัด และเปรมวิทย์ วิวัฒนเศรษฐ์. (2564). วิธีการนำเสนอเนื้อหาธรรมบทในพระธัมมปทัฏฐกถาแปล. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 6 (2), 255-268.

พระมหาอุดร เกตุทอง. (2547). การศึกษาวิเคราะห์อุปมาอุปไมยในพระธรรมบท. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2532). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์ พริ้นติ้ง กรุ๊พ.

วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2552). การศึกษาวิเคราะห์ทฤษฎีอรรถปริวรรตศาสตร์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. รายงานการวิจัย. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วีรชาติ นิ่มอนงค์. (2558). เฮอร์เมนูติกส์: ศาสตร์แห่งความเข้าใจ (ตีความ) ของพระพุทธปรัชญา (ศาสนา) เถรวาทและมหายานเชิงเปรียบเทียบ. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 2 (1), 79-92.

ศิราพร ณ ถลาง และปรียา หิรัญประดิษฐ์. (2538). หน่วยที่ 13 วรรณคดีไทย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาไทยศึกษา สาขาวิชาศิลปศาสตร์ เล่มที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สนิท ตั้งทวี. (2527). วรรณคดีและวรรณกรรมศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

สมบัติ พรศิริเจริญพันธ์. (2559). เฮอร์เมนูติกส์: ศาสตร์แห่งการตีความและศิลปะแห่งการเข้าใจ. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

สมิทธิพล เนตรนิมิตร. (2559). อรรถกถาธรรมบทในสังคมไทย. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 3 (1), 36-51.

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 39. (ม.ป.ป.). เรื่องที่ 1 การศึกษาของสงฆ์: การศึกษาและการสอบพระปริยัติธรรม. สืบค้นเมื่อ 11 มกราคม 2562, จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/ book.php?book=39&chap=1&page=t39-1-infodetail02.html

สำเนียง เลื่อมใส. (2545). ไขความอรรถกถาธรรมบท. วารสารดำรงวิชาการ. 1 (1), 331-349).

สุชญา ศิริธัญภร. (2557). วิจารณ์สดุดีคัมภีร์เนตติปกรณ์. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 1 (2), 143-155.

สุภีร์ ทุมทอง พระเทพสุวรรณเมธี และพระมหาวัฒนา ปญฺญาปทีโป. (2564). การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบการอธิบายพระพุทธพจน์ตามแนวเนตติปกรณ์สำหรับนิสิตบัณฑิตศึกษา วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 7 (1), 78-94.

อภิญวัฒน์ โพธิ์สาน. (2561). แนวคิดคู่ตรงข้ามในยมกวรรคแห่งอรรถกถาธรรมบท. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 5 (3), 593-616.

Bowie, A. trans. & ed. (1998). Schleiermacher: Hermeneutics and Criticism and Other Writings. Cambridge: Cambridge University Press.

Klemm, D. E. (1986). Hermeneutical Enquiry, Vol. I. Atlanta: Scholar Press.

Scott, J. (1990). A Matter of Record: Documentary Sources in Social Research. Cambridge: Polity Press.

Seebohm, T. M. (2004). Hermeneutics: Method and Methodology. Dordrecht: Kluwer Academic Publishers.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25

How to Cite

พุดชู ส., สุทธิรัตน์ แ. ., & สายศรีโกศล อ. . (2024). รูปแบบศาสตร์แห่งการตีความเชิงปรัชญาในคัมภีร์ธัมมปทัฏฐกถา. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 15(2), 39–58. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JBS/article/view/272647