รูปแบบการบริหารจัดการวัดในศตวรรษที่ 21

ผู้แต่ง

  • พระอำนาจ ถิรวิริโย (ขันตา) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปรุตม์ บุญศรีตัน Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Chiang Mai Campus

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การบริหารจัดการวัด, ศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการวัดในปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาบริบทการบริหารจัดการวัดในจังหวัดเชียงใหม่ และ 3) เพื่อเสนอรูปแบบการบริหารจัดการวัดในศตวรรษที่ 21 งานวิจัยนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาวิจัยเชิงเอกสารจากพระไตรปิฎก หนังสือ ตำรา และแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรอบการบริหารตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่3) พ.ศ. 2560 และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 23 รูป/คน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ 2 วัด แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ในรูปแบบการพรรณนา  ผลการวิจัยพบว่า

1) การบริหารจัดการวัดในยุคปัจจุบันมีความสำคัญมาก เนื่องจากวัดเป็นสถาบันหลักทางพระพุทธศาสนา การบริหารจัดการต้องทันสมัยและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ การปกครองที่มีวิสัยทัศน์และภาวะผู้นำ, การศาสนศึกษาที่พัฒนาหลักสูตร, การศึกษาสงเคราะห์ที่ช่วยผู้ด้อยโอกาส, การเผยแผ่ที่ใช้สื่อสมัยใหม่, การสาธารณูปการที่ให้บริการชุมชน, และการสาธารณะสงเคราะห์ที่ช่วยผู้ประสบภัย ต้องคำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้การบริหารงานโปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

2) บริบทการบริหารจัดการวัดในจังหวัดเชียงใหม่ การบริหารจัดการวัดในจังหวัดเชียงใหม่ต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับสังคมที่เปลี่ยนแปลง โดยพิจารณาจากความหลากหลายทางวัฒนธรรม เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ การบริหารควรโปร่งใสและมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ปรับปรุงหลักสูตรศาสนศึกษาให้ทันสมัย พัฒนาและปรับรูปแบบการศึกษาสงเคราะห์และการเผยแผ่ศาสนาให้เหมาะสมกับผู้รับสารในศตวรรษที่ 21 รวมทั้งส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการสาธารณูปการและสาธารณะสงเคราะห์ เพื่อให้วัดเป็นศูนย์กลางชุมชนที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืน

            3) รูปแบบการบริหารจัดการวัดในศตวรรษที่ 21 ต้องปรับตัวให้ทันสมัยเพื่อคงบทบาททางจิตใจและพัฒนาสังคม ประกอบด้วยหกด้าน ได้แก่ การปกครองที่โปร่งใสและมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การศึกษาสงฆ์และสงเคราะห์ที่ทันสมัย การเผยแผ่ที่ใช้เทคโนโลยีสื่อสาร การสาธารณูปการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต และการสาธารณะสงเคราะห์ที่มีส่วนร่วมของประชาชนและใช้เทคโนโลยี เพื่อสร้างวัดเป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมทางสังคมและศาสนา คงไว้ซึ่งบทบาทสำคัญในการพัฒนาชุมชน

References

กฤติน จันทร์สนธิมา. (2561). การศึกษาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศาสนสมบัติโดยใช้

แนวทางประชารัฐ. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

จรัญ ประสิทธิ์ตระกูล. (2559). รูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์การพัฒนาวัดสู่ความเป็นมาตรฐาน

ของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 10(1), 312 - 313.

ประกิต บุญมี และคณะ. (2559). การบริหารกิจการคณะสงฆ์: ศึกษากรณีเขตการปกครองคณะสงฆ์

ตำบลท่าไม้ จังหวัดสมุทรสาคร. รายงานวิจัย. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์.

พระครูกิตติเขมาภิรม และสุภัทรชัย สีสะใบ. (2560). ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการวัดยุคไทยแลนด์ 4.0. รายงานวิจัย. ศูนย์บัณฑิตศึกษา คณะสังคมศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโกวิทบุญเขต (รอด อคฺคธมฺโม). (2560). การจัดการพัฒนาวัดในยุคไทยแลนด์ 4.0. รายงานวิจัย. ตาก: มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ตาก.

พระครูโพธิกิตติคุณ (กิตติพงษ์ สุปญฺโญ). (2561). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธของคณะสงฆ์ภาค 3. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสาธิตวีรญาณ อยู่สุข. (2558). ธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการพันธกิจของวัด. วารสาร วิทยาลัยสงฆ์นครราชสีมา. 9(2), 92.

พระครูสุธีจริยวัฒน์. (2562). บทบาทของพระสงฆ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง. 2(1),1.

พระมหากฤษณ์ธนินต์ เสฏฺฐเมธี และคณะ. (2557). การสังเคราะห์การบริหารความเปลี่ยนแปลงตามหลักพระพุทธศาสนา. รายงานวิจัย. สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพุทธิสาสน์ พานิชโภไคยนันท์ และคณะ. (2561). รูปแบบพัฒนาบทบาทพระสงฆ์ไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารรัชต์ภาคย์. 12(27), 102.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมหาวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สาธิต พนารี. (2557). กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารจัดการวัดในยุคโลกาภิวัตน์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 5(2), 82.

เสฐียรพงษ์ วรรณปก. วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.

matichonweekly.com/column/article_248646, [13 มีนาคม 2566].

วราภรณ์ เชี่ยวเวทย์. (2562). “แนวทางในการบริหารและการจัดการวัดให้สาเร็จตามรูปแบบการบริหารของพุทธบริษัท กรณีศึกษาวัดราชาธิวาส เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร.” บทความในเอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการ. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 19 มกราคม.

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรี สฤษดิ์วงศ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25