วิเคราะห์การบูรณาการหลักมงคลสูตรกับการพยากรณ์เลขศาสตร์ ของนักพยากรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • สุภัคชญา บุญเฉลียว -
  • พระครูปริยัติเจติยานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูสิริปริยัตยานุศาสก์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

มงคลสูตร, การพยากรณ์, เลขศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักมงคลสูตร
ในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาการพยากรณ์เลขศาสตร์ของนักพยากรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ และ
3) เพื่อวิเคราะห์การบูรณาการหลักมงคลสูตรกับการพยากรณ์เลขศาสตร์ของนักพยากรณ์ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มนักปราชญ์ชาวพุทธที่เป็นบรรพชิต กลุ่มนักพยากรณ์ และกลุ่มผู้รับบริการของนักพยากรณ์ จำนวน 24 รูป/คน ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ผลการวิจัยพบว่า 

  1. คำว่า “มงคล” หมายถึง เหตุนำความสุขและความเจริญมาให้ มีทั้งมงคลทางโลกและมงคลทางธรรม หลักมงคลสูตร 38 ประการ ประกอบด้วยลำดับการดำเนินชีวิตตั้งแต่การศึกษา การทำงาน การเกษียณ ไปจนถึงการพัฒนาตนเองสู่ความสุขสูงสุด มงคลสูตรสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ทุกช่วงวัย
  2. การศึกษาการพยากรณ์เลขศาสตร์ของนักพยากรณ์ในเชียงใหม่ 9 คน พบว่า 7 คนเป็นชาย และ 2 คนเป็นหญิง มีอายุระหว่าง 46-75 ปี ประสบการณ์พยากรณ์ 11-45 ปี รับพยากรณ์ 1-20 คน/วัน นักพยากรณ์ใช้วิชาเลขศาสตร์ควบคู่กับโหราศาสตร์ในการตั้งชื่อ คำนวณเลขมงคล และให้คำปรึกษาในเรื่องการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ และสุขภาพ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะบุคคลด้วยศาสตร์ที่มีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมไทย
  3. การบูรณาการครั้งนี้ พบว่า ผู้มารับการพยากรณ์มีปัญหาชีวิตและต้องการเสริมดวงด้วยเลขมงคล เช่น เบอร์มงคล บ้านเลขที่มงคล การตั้งชื่อมงคล และเลขทะเบียนรถมงคล นักพยากรณ์ใช้มงคลสูตรเป็นแนวทางในการให้คำแนะนำที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ ทั้งในเรื่องการแก้ไขปัญหาชีวิตและการสร้างความมั่นใจ การบูรณาการนี้ช่วยเสริมสร้างชีวิตและสังคมให้เกิดความสงบสุข พร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการใช้ศาสตร์ทั้งสองร่วมกัน

References

กฤติกาวลัย หิรัญสิ. (2554). ศึกษาความสอดคล้องของหลักพยากรณ์ในคัมภีร์ และวิชาโหราศาสตร์ไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กฤติกาวลัย หิรัญสิ. (2558). ความสัมพันธ์ในการพยากรณ์ชีวิตคนด้วยวิชาโหราศาสตร์ไทย กับกฎแห่งกรรมในพระพุทธศาสนาเถรวาท. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จุฑามาศ ณ สงขลา. (2549). เลขโทรศัพท์ เรียกทรัพย์ รับโชค. กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊คส์.

จุฑามาศ ณ สงขลา. (2563). เลขศาสตร์รหัสลับไคโร (ฉบับ 2020). กรุงเทพมหานคร: สถาพรบุ๊คส์.

จันทร์พ้นเมฆ. (2555). ธรรมประยุกต์ 3.0 ทางพุทธจักราศี เล่ม 2. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.

ชูชาติ สุทธะ. (2559). กระบวนการพัฒนาชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ. ดุษฏีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

นัทวัญ สวัสดีมงคล. (2556). ความเชื่อค้นเลขศาสตร์ในการเลือกใช้งานหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของลูกค้าเอไอเอสในเขคพื้นที่จังหวัดนครปฐม. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

นิติกฤตย์ กิตติศรีวรนันท์. (2562). DECODER+ ถอดรหัสพลังตัวเลข สร้างแรงดึงดูดความสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เบอร์รับโชค ดอท คอม.

ปิ่น มุทุกัน. (2555). มงคลชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สร้างสรรค์บุ๊คส์.

ปภินวิชช์ เชิงชวโน. (2549). เบอร์สวยช่วยได้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: จูปิตัส.

พัชรี แก้วผลึก. (2561). “การศึกษาวิเคราะห์เรื่องฤกษ์ตามคัมภีร์โหราศาสตร์ไทยที่มีผลต่อพุทธศาสนิกชน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ). (2556). มงคลชีวิต หลักปฏิบัติมงคล 38 ประการของคนดี. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา สภาบันลือธรรม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2557). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 39. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาพิเชษฎ์ จตฺตมโล (เขียนจัตุรัส). (2559). การศึกษาเชิงวิเคราะห์การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักคำสอนในมงคลสูตร. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา คณะศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ. (2556). มงคลชีวิต ฉบับ “ทางก้าวหน้า”. กรุงเทพมหานคร: ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์.

พระแมน ฐิตเมโธ (ดาวใหม่). (2561). ธรรมชาติของมนุษย์ในทัศนะของพุทธทาสภิกขุ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พลูหลวง. (2558). พื้นฐานของโหราศาสตร์ (ความมหัศจรรย์ของตัวเลข). กรุงเทพมหานคร: บริษัทธเนศวรคพริ้นติ้ง (1999) จำกัด. 2558

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. มหาวิทยาลัย. (2500). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาฯ.กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วัชพร ทุมมานนท์. (2558). การประยุกต์หลักพุทธสันติวิธีในการพยากรณ์ของนักโหราศาสตร์ไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาสันติศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิโรจน์ อินทนนท์. (2556). มังคลัตถทีปนี. ในตามรอยพระสิริมังคลาจารย์สังฆปราชญ์ล้านนา. รวบรวมจัดพิมพ์โดย พระครูธีรสุตพจน์ (พระมหาสง่า ธีรสํวโร). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่.

สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู. (2546). ชื่อ ความสุข ความมั่งคั่งและพลังอำนาจดวงดาว. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ Good Morning.

สมเจตน์ แสงคำ ณ เวียงกำพู. (2549). ทำนายทะเบียนรถ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คนคมน์.

สาคร สังฆะณา. (2556). ศึกษาการพยากรณ์กับการให้คำปรึกษาเชิงพุทธเพื่อบำบัดความเครียดของผู้มารับบริการจากสมาคมโหรภาคเหนือ. ดุษฏีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฏีบัณฑิต. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สิงโต สุริยาอารักษ์. (2526). โหราศาสตร์ไทย เรียนด้วยตนเอง เล่มเดียวจบ. กรุงเทพมหานคร: ดวงดีการพิมพ์.

สินาท นาควัชระ. (2564). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยกับราคาที่ผู้บริโภคเต็มใจจ่ายในการเปลี่ยนเบอร์มงคล. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. โครงการพิเศษ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (M.B.A. for IT Smart Program) รุ่นที่ 17 มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อภิญญา สาริพันธ์. (2564). การวิเคราะห์วิชาโหราศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25