ศึกษาวิเคราะห์พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก
คำสำคัญ:
พระธรรมเทศนา, พื้นเมืองเหนือ, มาลัยโผดโลกบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติและความสำคัญของพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก2) เพื่อศึกษาเนื้อหาและโครงสร้างของพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก 3) เพื่อวิเคราะห์พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร รวบรวมข้อมูลจากหนังสือ เอกสาร คัมภีร์ วารสารและวิทยานิพนธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1.ประวัติความเป็นมาเรื่องพระมาลัยนี้ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยหรือก่อนหน้านั้นแล้ว เล่าเรื่องราวเกี่ยวกับนรก สวรรค์ คนที่ตกนรกและผู้ที่อยู่บนสวรรค์ คนที่ได้ฟังหันมานับถือพระพุทธศาสนา วรรณกรรมเรื่องพระมาลัยมีเขียนไว้หลายสำนวน มีทั้งสำนวน ภาคเหนือ ที่เป็นสำนวนท้องถิ่น เป็นสมุดข่อยและฉบับใบลานและใช้ภาษาถิ่นในการจดจาร อักษรธรรมล้านนา เผยแพร่ด้วยสำนวนภาษาเฉพาะท้องถิ่นตน 2.การศึกษาเนื้อหาและโครงสร้างของพระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลกทำให้ทราบถึงคำสอนในเรื่องนี้ไม่ให้ประมาทในการใช้ชีวิตเพราะผลของกรรมที่จะได้รับหากทำผิดศีลธรรมตามหลักศาสนาจะส่งผลร้ายไปถึงภพหน้า ธรรมเรื่องมาลัยโผดโลกจึงเป็นการสอนจริยธรรม 3.จากการวิเคราะห์พระธรรมเทศนาพื้นเมืองเหนือ เรื่องมาลัยโผดโลก พบว่าผู้ประพันธ์ใช้แนวคิดจากเนื้อหาคำสอนในพระไตรปิฎกเอาสาระธรรมมาสร้างวรรณกรรมที่เน้นจุดเด่นเรื่องผลของกรรม โดยบรรยายภาพที่สะเทือนความรู้สึกทั้งทางบวกและทางลบ คือผลของการทำดีจะทำให้ได้ไปสวรรค์ หากทำชั่วจะได้ไปสู่นรก เป็นวรรณกรรมคำสอนที่เข้าเกณฑ์พุทธจริยศาสตร์ทั้ง 3 ระดับ
References
ชฎาลักษณ์ สรรพานิช.(2524). พระมาลัย : การศึกษาเชิงวิเคราะห์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาไทย ภาษาตะวันออก. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปัญญา ศาสตรา,จรัส ลีกา,พระสมบัติ ฐิตญาโณ,พระมหาอรรถพงษ์ ศรีระวงษ์,พระนรินทร์ สีลเตโชและ อัจฉริยะ วงษ์คำซาว. (2562). ศึกษาวิเคราะห์ศีล 5 ในทัศนะพุทธจริยศาสตร์. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 39.
พระนคร ปญฺญาวชิโร (ปรังฤทธิ์). (2557). วิถีเทศน์ในล้านนา. เชียงใหม่: หจก. ซีเอ็มมีเดีย.
พระสุรัศ สุรปญฺโญ, วิโรจน์ วิชัย, พูนชัย ปันธิยะ. (2561) วิเคราะห์เชิงปรัชญาเรื่องนรกและสวรรค์ ที่ปรากฏในคัมภีร์มาลัยโผดโลกของล้านนา. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา, 14(2), 408.
สมหมาย เปรมจิต. (2521). คัมภีร์ใบลานและประเพณีตั้งธรรมในภาคเหนือ พุทธศาสนาในล้านนาไทย. เชียงใหม่: ทิพย์เนตรการพิมพ์.
อติเทพ วงศ์ทอง.(2548). ศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อและคุณค่าคัมภีร์ไตรภูมิฉบับล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.