กระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
กลไกการปรับตัว, พระพุทธศาสนา, ไวรัสโควิด-19บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาการปรับตัวในการจัดกิจกรรมทางสังคมของชุมชน จากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน 3) เพื่อทอดองค์ความรู้การสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประชาชนในตำบลต้นธงมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการการปรับตัวในการจัดกิจกรรมทางสังคมของชุมชนและกระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธ คือ การสวมใส่หน้ากากอนามัยอย่างสม่ำเสมอ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์เป็นประจำ เว้นระยะห่างทางสังคม โดยต้องคำนึงถึงความเรียบง่าย เหมาะสมแก่สถานการณ์ และกำชับให้ผู้ร่วมงานป้องกันตัวเอง เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัยและมีสติป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโรคโควิด 19 2) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน มี 5 กระบวนการ คือ (1) การส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันให้แก่ประชาชน
(2) การสื่อสารให้เข้าใจข้อมูลที่ถูกต้อง (3) การสร้างวินัยให้แก่คนในชุมชน (4) การสร้างสิ่งแวดล้อมที่ให้สะอาด (5) การรณรงค์ให้มีสวมหน้ากากอนามัยทุกคน สำหรับหลักธรรมที่สามารถประยุกต์ใช้ในการปรับตัวมี 2 ระดับ คือ (1) ระดับบุคคล ได้แก่ หลักสัปมัปปธาน 4 และ (2) ระดับสังคม ได้แก่ หลักภาวนา 4 3) การถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว คือ (1) การจัดกิจกรรมอบรมประชาชนและเครือข่ายภาคี (2) การทำเอกสารสรุปองค์ความรู้เผยแผ่ และ (3) การเผยแผ่องค์ความรู้ผ่านสื่อออนไลน์
References
กรมประชาสัมพันธ์. ราชกิจจานุเบกษาประกาศหลักเกณฑ์”ไม่สวมหน้ากากอนามัย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/24355.
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.(2564). ความเกี่ยวกับสถานการณ์โควิค. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.mhllibrary.com.
กรรณิการ์ แสนสุภาและคณะ. (2563). การปรับตัวของนักศึกษาในสถานการณ์โควิด-19. วารสารมนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 6 (2), 85.
ณัชปภา โพธิ์พุ่มและคณะ. ( 2564). “รูปแบบการพัฒนาตนในวิกฤตสถานการณ์โควิด-19 ตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์.” รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย : สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์, 2564.
ทนงศักดิ์ หลักเขต. (2565).“การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอเมืองอุบลราชธานี ด้วยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.). วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 3 (3), 61 – 69.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19, วารสาร, คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2). 1.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล.(2564). งานวิจัยอ่านง่าย เรื่องปัจจัยทำนายการปฏิบัติของประชาชนไทยต่อผู้ที่เคยติดเชื้อหรือผู้ถูกกักกันและผลกระทบจากการระบาดของโควิค 19. กรุงเทพมหานคร : พีเอมเอสครเอชั่น.
สยมพร ศิรินาวิน. (2563). โควิด-19” ความรู้ สู่ปัญญา พัฒนาการปฏิบัติ. นนทบุรี: บริษัท โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์ จำกัด.
สมศรี เรืองแก้ว ประกอบ ใจมั่น และจิราพร วัฒนศรีสิน. “การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา.” วารสารสมาคมนักวิจัย, 25 (1): 26.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2565). มติมหาเถรสมาคม เรื่องมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิค. [ออนไลน์]. แหล่งที่https://onab.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/9240.
ระนอง เกตุดาว, อัมพร เที่ยงตรงดี. (2564). ภาสินี โทอินทร์, “การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบล จังหวัดอุดรธานี Udon Model COVID-19,” วารสารวิชาการสาธารณสุข, (30(1) : 53-61.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.