Defense mechanism : กลไกการป้องกันตนเองแบบรอบด้านเชิงพุทธ จากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • พระครูสิริสุตานุยุต - มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • พระมหาอินทร์วงศ์ วงค์ไชยคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • นิกร ยาอินตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

คำสำคัญ:

กลไกป้องกันตนเองเชิงพุทธ, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, การรักษาสมัยพุทธกาล, การรักษาของหมอเมืองโฮงฮอมผะญ๋า, หลักธรรมกับการรักษา, สุขภาพองค์รวม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน และเพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดการกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ  และเชิงปฏิบัติการ ในพื้นที่ตำบลต้นธง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

ผลการวิจัยพบว่า

1) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน เป็นการพัฒนาชุดความรู้และนำไปเผยแพร่แก่ประชาชน ในด้าน “หมึ้ง” คือการมีสติสัมปชัญญะต่อปัจจัยภายนอก คือ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ การเว้นระยะห่าง และมีสติต่อปัจจัยภายใน คือ ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และฉีดวัคซีน ด้าน“หนิม” หรือการอยู่นิ่งๆ คือ การอยู่บ้าน และทำงานที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารให้เป็นประโยชน์ และด้าน“ฮัก” คือการรักษาสุขภาพทางกายและใจ ด้วยการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสมุนไพรและรักษาสุขทางใจ ด้วยการสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมะ

2) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการปรับตัวด้านการจัดกิจกรรมทางสังคมเชิงพุทธจากผลกระทบโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน คือ การปรับเปลี่ยนรูปแบบกิจกรรม ปรับเปลี่ยนเนื้อหา ปรับตัวทางวิธีการ การปรับตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์  และประยุกต์ใช้หลักสัมมัปธาน 4 กับการปรับตัวในระดับบุคคล และการประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 กับการปรับตัวระดับสังคม

References

กนกวรา พวงประยงค์. (2564). “สถานการณ์ผลกระทบความต้องการการช่วยเหลือและการปรับตัวของคนวัยทำงานในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 : การศึกษาเชิงประจักษ์ในกรุงเทพมหานคร. วารสารสุทธิปริทัศน์. 35(1): 267.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. (10 สิงหาคม 2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php

กฤษฎา บุญชัยและคณะ. (2563). “การประเมินความเสียหาย ผลกระทบและการปรับตัวของชุมชนท้องถิ่นต่อภาวะโรคระบาด COVID 19”. รายงานวิจัย. มูลนิธิชุมชุนท้องถิ่นพัฒนา.

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดลำพูน. (2564). มาตรการการกักตัว (Home Quarantine) ผู้ที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่จังหวัดลำพูน. จาก https://www.lamphun.go.th/uploads/5/2021-08/b92e7fc78f7 cf621e3052b1f2f0b7687.pdf.

จันทิมา ห้าวหาญ และพรรณวดี ขำจริง. (2564). “ความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรมการปฏิบัติตนเกี่ยวกับการป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) ของประชาชนในจังหวัดภูเก็ต”. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 ปีการศึกษา 2563 วิทยาลัยเทคโนโลยีภาคใต้: 169.

ณัชปภา โพธิ์พุ่มและคณะ. (2564). “รูปแบบการพัฒนาตนในวิกฤตสถานการณ์โควิด-19 ตามหลักพุทธธรรมของประชาชนในจังหวัดสุรินทร์”. จาก https://mis.srru.ac.th/uploads/ documents/ journals/o3Fsr2d6uO9BfwLg7L6J.pdf

ทนงศักดิ์ หลักเขต. (2565). “การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) อำเภอเมืองอุบลราชธานี ด้วยกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)”. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 3(3): 61-69.

นารีมะห์ แวปูเตะ, คันธมาทน์ กาญจนภูมิ, กัลยา ตันสกุล. (2564) “พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา”. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3(2): 31.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

สมศรี เรืองแก้ว ประกอบ ใจมั่น และจิราพร วัฒนศรีสิน. (2563). “การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา”. วารสารสมาคมนักวิจัย. 25: (1), 26.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (10 สิงหาคม 2564). รายงานภาวะเศรษฐกิจในประเทศราย ไตรมาส. จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?file name=socialoutlook_report

สุพัตรา รุ่งรัตน์, ซูลฟีกอร์ มาโซ, ยุทธนา กาเด็ม. (2564). “ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองยะลา จังหวัดยะลา”. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(2): 161.

หทัยรัตน์ สุนทรสุข. (2564). “ระบบการเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคโควิท-19 และผลกระทบของการระบาดต่อประชาชน จังหวัดกำแพงเพชร”. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 11(1), 14.

Likert. Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic. Matin. Ed. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29