กระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
การสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธ, หลักธรรมอัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ, ภาษาท้องถิ่นภาคเหนือบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมในการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน 2) เพื่อพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน และ3) เพื่อส่งเสริมกระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธด้านสุขภาพแบบองค์รวมตามหลักธรรม อัปปมาเทนะ สัมปาเทถะ ผ่านภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ “หมึ้ง – หนิม - ฮัก” หมู่บ้านสีขาว จังหวัดลำพูน ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพ และเชิงปฏิบัติการ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนในเทศบาลตำบลต้นธง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 375 ราย กลุ่มปฏิบัติการ จำนวน 72 คน และสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ทำการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมในการป้องกันการติดเชื้อจากโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 โดยรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 2) การพัฒนากระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธ เป็นการพัฒนาชุดความรู้ที่มีรายละเอียด 3 ด้าน คือ (1) “หมึ้ง” การมีสติสัมปชัญญะ ต่อปัจจัยภายนอก คือ การสวมหน้ากากอนามัย การล้างมือ ด้วยน้ำสบู่หรือเจอแอลกอฮอล์ เว้นระยะห่าง และมีสติต่อปัจจัยภายใน ในการสร้างภูมิต้านทานให้ตนเอง ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตรวจสุขภาพประจำปี และฉีดวัคซีน (2)“หนิม” หรือการอยู่นิ่งๆ คือ การอยู่บ้าน และทำงานที่บ้าน โดยใช้เทคโนโลยีเครื่องมือสื่อสารให้เป็นประโยชน์ และ (3) “ฮัก” หรือการรักษาทางกาย และทางใจ การรักษาทางกายคือ การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วยสมุนไพร และรักษาร่วมกับยาแผนปัจจุบัน ส่วนการรักษาทางใจ คือ ควรสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรมะ 3) การส่งเสริมกระบวนการสร้างกลไกการป้องกันตนเองเชิงพุทธ เป็นการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ให้กับอาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลต้นธง จำนวน 72 ราย
องค์ความรู้จากการศึกษาวิจัยนี้ จะช่วยพัฒนาสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของประชาชนให้ดีขึ้น ให้มีความสามารถในการป้องกันตนเอง และรับมือต่อสถานการณ์ของโรคระบาด หน่วยงานภาครัฐสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปพัฒนาเป็นนโยบายเพื่อให้ประชาชนสามารถปรับตัวได้ในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
References
กระทรวงสาธารณสุขกรมควบคุมโรค. (2564). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
ธีระพงษ์ ทศวัฒน์. (2563). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตทางสังคมของประชาชนและการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)”. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(9), 40-55
นงลักษณ์ โตบันลือภพ และคณะ. (2564). “การรับรู้ ทัศนคติ และความรู้ต่อมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมและผลต่อการปฏิบัติตัวตามมาตรการ สุขภาพจิต และคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดลำปาง ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19”. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ. 8(1), 169.
นารีมะห์ แวปูเตะ คันธมาทน์ กาญจนภูมิ และ กัลยา ตันสกุล. (2564). “พฤติกรรมการป้องกันโรคจากไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา”. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน. 3(2), 31.
เนตรชาณี กมลรัตนานันท์ และคณะ. (2563). “การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงวิกฤต โควิด-19. วารสารเกื้อการุณย์. (27): 175.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.
ประนอม ธมฺมาลงกาโร,พระอาจารย์มหา. (2561). “อัปปมาทธรรม”. วารสารโพธิยาลัย. 4(43), 3.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมศรี เรืองแก้ว ประกอบ ใจมั่น และจิราพร วัฒนศรีสิน. (2563). “การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา.” วารสารสมาคมนักวิจัย. 25(1), 26.
Likert. Rensis. (1967). “The Method of Constructing and Attitude Scale”. Reading in Attitude Theory and Measurement. Fishbeic. Matin. Ed. New York: Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.