รูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

ผู้แต่ง

  • นุชธิดา ก้อนพิลา มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นและของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2  3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 เป็นวิจัยแบบผสมผสาน  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 6 คน โดยเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากสถานศึกษาที่มีผลงานด้านการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้รับรางวัล พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2565 อย่างต่อเนื่อง จาก 3 โรงเรียน ใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบกับการสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 1.1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งต่อ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน และด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน 1.2)  ผลการศึกษาสภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ ด้านการส่งต่อ พิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ด้านการคัดกรองนักเรียน และด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 1.3) ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น โดยรวมเท่ากับ 0.231 เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน ลำดับที่ 2 ด้านการส่งต่อ ลำดับที่ 3 ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ลำดับที่ 4 ด้านการคัดกรองนักเรียน และลำดับที่ 5 ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล 2) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 2.1) ผลการสร้างรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ประกอบด้วย 4 ส่วน ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 หลักการของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 2 วัตถุประสงค์ของรูปแบบ องค์ประกอบที่ 3 วิธีดำเนินการการบริหารจัดการเรียนรู้ยุคใหม่ในสถานศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล ด้านการคัดกรองนักเรียน ด้านการส่งเสริมและพัฒนานักเรียน ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน และด้านการส่งต่อองค์ประกอบที่ 4 แนวทางการประเมินรูปแบบ               2.2) ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2  3.1) ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3.2) ผลการประเมินความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุคปกติใหม่ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). NEW Normal ชีวิตใหม่ (Online). (ออนไลน์), เข้าถึงจาก : https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288.

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในยุค NEW NORMALของผู้บริหารสถานศึกษา ศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 3 เมืองศรีภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด. 2(3), 12.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

ลัดดาวัลย์ โคตรพิมพ์. (2564). แนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัชยมศึกษา เขต 27. วิทยานิพนธ์การศึกบามหาบัณฑิตมหาสารคาม. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วรรณนพ ศิริสวัสดิ์. (2563). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนกับคุณภาพผู้เรียนในรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม. วารสารรัชภาคต์. 14(34),165.

วิไล รัตนทิพย์. (2562). กลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา มหาสารคาม, วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(4), 716-730.

ศราวุฒิ แก้วอาจ. (2558). การพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนโพธิ์ชัยทอง พิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหา บัณฑิตสกลนคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. (2563). รายงานสรุปผลการสังเคราะห์รายงานประจำปีของสถานศึกษา (Self Assessment Report : SAR) ปีการศึกษา 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. เลย: กลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). คู่มือการคัดเลือกสถานศึกษาและสำนักงาน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30