รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3
คำสำคัญ:
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม;, การพัฒนาผู้บริหาร สถานศึกษาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 2) เพื่อศึกษารูปแบบและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสม ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 3) เพื่อประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี ประชากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน/รักษาการ จำนวน 173 โรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 123 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษา จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 พบว่าองค์ประกอบและตัวชี้วัดภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง (2) มีความคิดสร้างสรรค์ (3) การบริหารความเสี่ยง (4) การทำงานเป็นทีมและมีส่วนร่วม (5) บรรยากาศแห่งองค์กรนวัตกรรม 2) ผลการศึกษา จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าวิธีการพัฒนาในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 ได้แก่ (1) การศึกษาด้วย ตนเอง (2) การอบรม (3) การศึกษาดูงาน และ 4. การรวมกลุ่มทำงาน 3) ผลการศึกษา จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่ารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 มีองค์ประกอบของโปรแกรม คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) เนื้อหา ประกอบด้วย 5 Module คือ Module (1) การมีวิสัยทัศน์การเปลี่ยนแปลง Module (2) การมีความคิดสร้างสรรค์ Module (3) การบริหารความเสี่ยง Module (4) การทำงานเป็นทีมและมีส่วน ร่วม และ Module (5) บรรยากาศแห่งองค์การนวัตกรรม 4. วิธีการพัฒนา คือการเรียนรู้ด้วยตนเอง การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม และการรวมกลุ่มทำงาน และ 5. การวัดและประเมินผลโดยประเมินผล ก่อนพัฒนา ระหว่างการพัฒนา และหลังการพัฒนา ประเมินการทำกิจกรรมตามที่กำหนด และการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมกัน ระยะเวลาการพัฒนา 30 ชั่วโมง การดำเนินการพัฒนาได้กำหนดกระบวนการพัฒนาไว 4 ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมก่อนการพัฒนา ขั้นที่ 2 การฝึกอบรม ขั้น ที่ 3 การบูรณาการแบบ สอดแทรกการปฏิบัติงาน และขั้นที่ 4 การประเมินหลังการพัฒนา
References
ณิชาภา สุนทรไชย. (2561). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนจังหวัดกาฬสินธุ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นัฐกฤตา เกียรติกาญจน์, ธีรศักดิ์ อุปไมยอธิชัย, และณัฐกานต์ ประจัญบาน. (2565). องค์ประกอบของทักษะการคิดเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา. Journal of Roi Kaensarn Academi. 7(3), 59-70.
เนาวรัตน์ เยาวนาถ. (2562). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
ปวีณา กันถิน. (2560). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนประชารัฐ เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต. สาขาวิชาบริหารการศึกษา: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เผ่าพงศ์พัฒน์ บุญกะนันท์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อ คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์
เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2562). ภาวะผู้นำด้านนวัตกรรมสำหรับการบริหารการพยาบาล.วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 6(1), 53-58.
เรืองยศ แวดล้อม. (2556). การบริหารการศีกษา. (ออนไลน์). แหล่งที่มา : http://lek56.edublogs.org/2014. 25 มกราคม 2557.
ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). องค์กรแห่งนวัตกรรม: ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร. 30(2), 60-63.
สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2565). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยวิชาการ. 6(3), 309-323.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3. (2566). แผนปฏิบัติการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 3.
สุริยา สรวงศิริ,และสิทธิชัย สอนสุภี. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของครู สังกัด สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2. ใน การประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรพรรณ คงมาลัย. (2552). การวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมและขีดความสามารถในการ แข่งขัน : บทเรียนจากสาธารณรัฐเกาหลี ตอนที่ 3. For Quality, 16(141), 57.
อารียา เจ๊ะยะหลี. (2563). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาบริหารการศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.
Gliddon, D. G. (2006). Forecasting a Competency Model for Innovation Leaders Using a Modified Delphi Technique. Doctoral Dissertation. The Pennsylvania StateUniversity.
Horth, D. M. and Vehar, J. (2012). Becoming a leader who fosters innovation. Baffles: Guildford & King.
Hunter, S. T., & Cushenbery, L. (2011). Leading for innovation: Direct and indirect influences. Advances in Developing Human Resources, 13(3), 248-265.
Hunter, S., Steinberg, P., and Taylor, M. (2012). Shifting to a Strategy of Innovation: The Key Role of Leadership in Consumer Packaged Goods. The Pennsylvania State University.
Lei, Hitt and Bettis. (1996). quoted in Tippins and Sohi. Journal of Management 22(4): 748.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.