รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคัน ของนักเรียนโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

ผู้แต่ง

  • กานต์ชนก ทองมา มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น
  • พิกุล ภูมิโคกรักษ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม ขอนแก่น

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารสถานศึกษา, การลดอัตราการออกกลางคัน, การออกกลางคันของนักเรียน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็นในการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลยเขต 2 2) สร้างและตรวจสอบยืนยันความเหมาะสม รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 3) ประเมินความเป็นไปได้และเป็นประโยชน์รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างงานวิจัย ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 จำนวน 108 โรง ซึ่งผู้วิจัยกําหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเคจซีมอร์แกน และเลือกกลุ่มตัวอย่างการสุ่มอย่างง่าย ให้ได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง

 

ผลการวิจัยพบว่า 1)  ผลการศึกษาองค์ประกอบ สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น การบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านการกำหนดนโยบายเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนด้านการพัฒนาระบบการติดตามและระบบงานดูแลช่วยเหลือนักเรียน ด้านการดำเนินการเชิงรุก ด้านการส่งเสริมการจัดการศึกษาแบบเชื่อมโยงกับการประกอบอาชีพ และด้านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ สภาพปัจจุบัน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมเท่ากับ 0.389  2) ผลการประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียน โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด

References

กระทรวงศึกษาธิการ. ราชกิจจานุเบกษา. (ออนไลน์) 2561 .จาก https://www.moe.go.th/พรบ-การศึกษาแห่งชาติ-พ-ศ-2542

ธีรวี ทองเจือ และปรีดี ทุมเมฆ. (2560). แนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 : มิติด้านการศึกษา. วารสารวารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 5(3), 389.

ประยุง ภูศรี. (2561). การพัฒนาแนวทางการแก้ปัญหาการออกกลางคันของนักเรียนสำหรับ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 26 . มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สมาน อัศวภูมิ. (2557). รูปแบบการบูรณาการระบบการประกันคุณภาพภายในกับการบริหาร สถานศึกษาสำหรับสถานขั้นพื้นฐานขนาดกลาง. รายงานการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). แนวทางการดำเนินงานป้องกัน เฝ้าระวัง ติดตามและช่วยเหลือเด็กตกหล่นและออกกลางคัน ตามโครงการพาน้องกลับมาเรียน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุธรรม ธรรมทัศนานนท์. (2561). เอกสารคำสอน รายวิชา 0501702 หลักการ ทฤษฎีและแนวปฏิบัติทางการบริหารการศึกษา. มหาสารคาม. ภาคการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Eisner, E. (1976). Education Connoisseurship and Criticism: Their Form and Function in Education Evaluation. Journal of Aesthetic Education. 10(3/4), 135-150.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30