บทบาทของเศรษฐีในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา ในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท
คำสำคัญ:
บทบาท, เศรษฐี, อุปถัมภ์, อรรถกถาธรรมบทบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาประวัติของเศรษฐีที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 2.เพื่อศึกษาบทบาทของเศรษฐีที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท 3.เพื่อวิเคราะห์บทบาทของเศรษฐีที่อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาในคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท เป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร ศึกษาข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจากคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ภาค 1- 8 ที่เกี่ยวข้องกับประวัติและบทบาทของเศรษฐี
ผลการวิจัยพบว่า : 1.เศรษฐีแต่ละท่านมีฐานะและเส้นทางชีวิตที่แตกต่างกัน บางท่านมีฐานะร่ำรวยมาตั้งแต่เกิดมีชีวิตที่สมบูรณ์ บางท่านเกิดมาในตระกูลเศรษฐีมีฐานะร่ำรวย ภายหลังกลายเป็นคนจน บางท่านไม่ได้เกิดมาในตระกูลเศรษฐี ต่อมาได้เป็นเศรษฐี แต่ละท่านได้สร้างบารมี มานับภพนับชาติไม่ถ้วน เมื่อถึงเวลาที่บุญส่งผลจึงทำให้ได้สมบัติ ได้พบพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมและเข้าถึงธรรมในที่สุด มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต 2.เศรษฐีเป็นผู้มีบทบาทในการอุปถัมภ์พระพุทธศาสนา อนาถบิณฑิกเศรษฐีบริจาค สร้างวัดพระเชตวัน โชติกเศรษฐี ได้ถวายน้ำอ้อยเภสัช ได้สร้างพระคันธกุฎีด้วยรัตนะ ถวายภัตตาหารเครื่องไทยทานพระภิกษุถึง 6 ล้าน 8 แสนรูป เมณฑกเศรษฐี สร้างศาลาราย จัดงานฉลอง 4 เดือน โฆสกเศรษฐี ใช้มรดกของพ่อและที่ พระเจ้าอุเทน พระราชทานนำมาบริจาคสร้างโรงทานเลี้ยงคนยากจน สร้างวัดโฆสิตาราม ถวายทานทำบุญ จิตตเศรษฐี ถวายสวนอัมพาฏกวัน ให้สร้างอัมพาฏาการาม อุปถัมภ์พระภิกษุผู้มาจากทั่วสารทิศ 3) เศรษฐีทุกท่านเป็นผู้มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างมาก ได้พบพระพุทธเจ้าได้ฟังธรรมจึงหันมานับถือพระพุทธศาสนา ให้การอุปถัมภ์ด้านปัจจัย 4 เป็นตัวอย่างในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบัน
References
ปัญญลักษณ์ สุวรรณ. (2551). สูตรลับเศรษฐี. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ Organic books.
พระครูกัลยาณสิทธิวัฒน์ (สมาน กลฺยาณธมฺโม). (2546). เอตทัคคะในพระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). ธรรมะสําหรับหนุ่มสาว. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.
เสฐียร พันธรังสี. (2533). พุทธสถานในชมพูทวีป (เล่มจบ). กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พงศพันธ์ จันทรวาทิตย์. (2522). บทบาทของเศรษฐีที่ปรากฏในพระไตรปิฎก. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ มหาบัญฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : ภาควิชาภาษาตะวันออก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระปลัดประวิทย์ ตปคุโณ (ทับทอง). (2546). บทบาทและคุณธรรมของราชภัฎในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
พระมหาวิโรจน์ วิโรจโน (ผาทา). (2543). การศึกษาวิเคราะห์แนวความคิดเรื่องประโยชน์ในพุทธปรัชญาเถรวาท. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพโรจน์ ศุภทีปมงคล. (2549). การศึกษาวิเคราะห์บทบาทของจิตตคหบดีอุบาสกที่ปรากฏในคัมภีร์พระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปิยะมาลี อาทะวงศ์, ชำนาญ เกิดช่อ, ฐิติพร สะสม, และสว่างจิต ขันตี. (2566). การสร้างฐานะทางเศรษฐกิจตามแนวทางของเศรษฐีในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท. วารสาร มจร ปรัชญาปริทรรศน์. 6 (2), 137-148.
พระครูวิบูลศีลพรต (สมหมาย อาสโภ). (2557). การศึกษาบทบาทชาวพุทธแบบอย่าง กรณีศึกษาบทบาทของอนาถบิณฑิกเศรษฐีกับนางวิสาขามหาอุบาสิกา. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์. 1(1), 115-123.
มานพ นักการเรียน. (2559). วิเคราะห์มนุษย์กับการปกครองในอรรถกถาธรรมบท. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. 2(1), 2-15.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.