พระสงฆ์กับการส่งเสริมสวัสดิการสังคมของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ประจำปี 2565
คำสำคัญ:
การส่งเสริมสวัสดิการสังคม, หน่วยอบรมประชาชน, พระพุทธศาสนา, ชุมชน, ความยั่งยืนบทคัดย่อ
การศึกษานี้มุ่งเน้นการดำเนินงานของพระสงฆ์ในตำบล โหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ในการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมในหลายมิติ ได้แก่ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม โดยมีวัตถุประสงค์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาควบคู่กับการพัฒนาสังคม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และการพัฒนาชุมชน ดังนี้ 1) ด้านสังคม พระสงฆ์จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมความสามัคคีในชุมชน ช่วยเหลือผู้ยากไร้และผู้สูงอายุ รวมถึงการจัดตั้งกลุ่มต่าง ๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของคนในชุมชน 2) ด้านวัฒนธรรม อนุรักษ์และส่งเสริมประเพณีท้องถิ่น จัดงานเทศกาลที่สำคัญ และสอนหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา 3) ด้านเศรษฐกิจ พระสงฆ์ส่งเสริมการเกษตรกรรม การใช้ทรัพยากรในชุมชน การฝึกอาชีพ และการสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยเน้นการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นอกจากนี้ยังมีการสนับสนุนการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชนและการจัดตั้งกลุ่มอาชีพเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน 4) ด้านสิ่งแวดล้อม มีการรณรงค์ให้ปลูกต้นไม้ รักษาความสะอาดในชุมชน และจัดการขยะอย่างถูกวิธี รวมถึงการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การบวชป่า การสร้างแนวกันไฟ การปลูกป่าทดแทน และการสร้างฝายชะลอน้ำ เพื่อรักษาสมดุลของระบบนิเวศ
การดำเนินงานของพระสงฆ์ทำให้ชุมชนมีความเจริญรุ่งเรือง สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข โดยมีวัดเป็นศูนย์กลางการรักษาสวัสดิการชุมชนและเชื่อมโยงกิจกรรมพัฒนาชุมชนให้เป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิต ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาที่เข้มแข็งและยั่งยืน การดำเนินงานเหล่านี้ยังสนับสนุนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน เช่น หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือกลุ่มองค์กร ต่าง ๆ เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
References
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. (2560). กิจกรรมพัฒนาชุมชนดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2560 จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการเชิดชูเกียรติผู้นำเครือข่ายพัฒนาชุมชนดีเด่น (รอบที่ 2) ณ บ้านหลวง หมู่ ที่ 6 ตำบลโหล่งขอด อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://district.cdd.go.th/[ 19 มิถุนายน 2560].
กฤษฎา ศุภกิจไพศาล. (2563). การพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมที่มีความเป็นธรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “สังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม: การปลดล็อกความเหลื่อมล้ำสู่ความ ยั่งยืน”. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://socadmin.tu.ac.th//[2563].
วัชราภรณ์ จันทนุกูล และ สัญญา เคณาภูมิ. (2559). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมระดับชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่. 8(4), 3-14.
ภัทรพร สิริกาญจน (2540). หน้าที่พระสงฆ์ตามพุทธบัญญัติ:แนวคิดและบทบาทพระคำเขียน สุวณฺโณ ในการ
พัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, (2560). [ออนไลน์]. [ กรกฎาคม 2560]แหล่งข้อมูล: www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9516
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ. (2560). [ออนไลน์]. [ สิงหาคม 2563]. แหล่งข้อมูล: https://dsdw.go.th/
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ. (2552). คู่มือสิทธิประโยชน์ด้านสวัสดิการสังคมสำหรับประชาชน. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: http://www.oic.go.th.
สำนักงานส่งเสริมความร่วมมือมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2564). การพัฒนาหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.ป.ต.) ในสังคมไทย. [ออนไลน์]. [17 พฤศจิกายน 2564]. แหล่งข้อมูล:https://www.youtube.com/watch?v=R1aUKzbkGiI
พระมหานันทวิทย์ ธีรภทฺโท (แก้วบุตรดี) และคณะ. (2561). สวัสดิการสังคมเชิงพุทธ: รูปแบบและการสร้างพลังชุมชน.วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 6(2), 448.
ระพีพรรณ คำหอม. (2549). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย Social Welfare in Thai Society. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
วัดโมลีโลกยาราม. (2562). แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 91 ตอนที่ 9 ระเบียบมหาเถรสมาคม ว่าด้วยการจัดตั้งหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล พ.ศ. 2546 [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล: https://www.watmoli.com/wittaya-one/1528/ [ 2 พฤษภาคม 2562]
อภิญญา เวชยชัย และกิตติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์ (2546). การพัฒนาระบบสวัสดิการสำหรับคนจนและคนด้อย โอกาส: กลุ่มคนจนผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเสี่ยงที่ประสบปัญหาทางสังคม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษา เศรษฐศาสตร์การเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, (47) (143-148).
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.