การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัยจากภาพทังกาในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต

ผู้แต่ง

  • ชลนาถ วงศ์เวศารัช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เทพประวิณ จันทร์แรง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ฉลองเดช คูภานุมาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัชรยาน, จิตรกรรมทังกา, จิตรกรรมร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) ศึกษา แนวคิด ความเชื่อ ระบบสัญลักษณ์ในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต  2) ศึกษารูปแบบภาพจิตรกรรมทังกาในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต และ 3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยจากการศึกษาจิตรกรรมทังกาแบบทิเบต เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ

ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพวาดจิตรกรรมแบบภาพม้วนที่แสดงรูปพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ธรรมบาล บุคคลสำคัญหรือเรื่องราวด้านพระพุทธศาสนา โดยใช้เป็นเครื่องมือถ่ายทอดพระธรรมคำสอนต่าง ๆ จิตรกรรมทังกาเป็นพุทธศิลป์ที่ใกล้ชิดกับชาวทิเบตมาก ปรากฏอยู่ทั้งในศาสนสถาน อาคารบ้านเรือน และของประดับตกแต่งบ้านที่ฆราวาสทุกระดับชั้นมีไว้ในครอบครอง

2) ลักษณะทางรูปแบบศิลปกรรมของจิตรกรรมทังกามีความโดดเด่นทั้งในรูปลักษณ์ สีเชิงสัญลักษณ์และเนื้อหาพุทธปรัชญา โดยสามารถสรุปรูปแบบทางศิลปกรรมได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ จิตรกรรมทังกาแบบภาคกลางและจิตรกรรมทังกาแบบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งทั้งสองมีรูปแบบร่วมกันคือ จิตรกรรมทิเบตที่ถูกพัฒนาจนมีรูปแบบของตนเองตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 สามารถแบ่งออกได้ 4 ประเภท คือ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ ธรรมบาล และบุคคลสำคัญ

3) การสร้างสรรค์จิตรกรรมร่วมสมัย มีจำนวน 9 ภาพ เกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับภาพทังกาในพุทธศาสนาวัชรยานแบบทิเบต และนำมาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมร่วมสมัยโดยใช้รูปแบบนามธรรมและกึ่งนามธรรม โดยมีแนวคิดและเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ พระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์และธรรมบาล

References

ปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาล. (2558). ศิลปะทิเบต. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุมาลี มหณรงค์ชัย. (2546). พระพุทธศาสนามหายาน. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ศยาม.

ลลิดา ชัยกุล. (2554). พุทธจิตรกรรมทังกาในลัทธิวัชรยานแบบทิเบตที่เก็บรักษาไว้ที่วัดโพธิ์เย็น (โผวเหย่งยี่) อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรีและมูลนิธิพันดารา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต ภาควิชาทฤษฎีศิลป์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัญธิกา มนาปี. (2558). การศึกษาคติความเชื่อและรูปแบบเหวัชระที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. ภาควิชาโบราณคดี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปกร.

ชานิ แสงภัคดี. (2558). แนวคิดเรื่องโพธิสัตว์จริยาในพุทธศาสนามหายาน. สารนิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาจิรศักดิ์ จิรธมฺโม. (2558). ศึกษาโพธิสัตว์ศีลในพระพุทธศาสนามหายาน. สารนิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระวิมาน คมฺภีรปญฺโญ. (2558). ศึกษาอิทธิพลของตันตระที่มีต่อพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศไทย วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฏีบัณฑิต. สาขาพระพุทธศาสนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ศุภโชค สายชุม ณ อยุธยา. (2566). สัมภาษณ์

Das, Sarat Chandar. (1979). A Tibetan = English Dictionary. Delhi: Motilal Banarsidass.

Sharma, Shiv Kumar. (1994). Painted Scroll of Asia : Hindu, Buddhist and Lamaiistic. New Delhi : Intellectual Publishing Houes.

David P. Jackson and Janice A. Jackson. (1984).Tibetan Thangka Painting : Methods And Materials : London : Serindia Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25