สัตว์หิมพานต์สู่การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย

ผู้แต่ง

  • ภัคพงศ์ ทองเกลี้ยง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พูนชัย ปันธิยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ฉลองเดช คูภานุมาต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สัตว์หิมพานต์, สร้างสรรค์, จิตรกรรมไทยร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ เป็นการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ1) เพื่อศึกษาประวัติความสำคัญและประเภทของสัตว์หิมพานต์ในพุทธศาสนา  2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบสัตว์หิมพานต์ในสมุดไทยดำในสมัยรัชกาลที่ 3 และศิลปินร่วมสมัย 3) เพื่อสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัยโดยใช้สัตว์หิมพานต์สะท้อนคติพุทธศาสนาเรื่อง มหาภูตรูป เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ โดยการศึกษาเอกสาร และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัย

ผลการวิจัยพบว่า 1) สัตว์หิมพานต์ หมายถึง สัตว์พิเศษที่อาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ มีลักษณะรูปร่างผสมระหว่างมนุษย์กับสัตว์ สัตว์ผสมกับสัตว์ และสัตว์ตามธรรมชาติที่ไม่ผสม สร้างขึ้นเพื่อแสดงในเรื่องของพื้นที่การสร้างเขาพระสุเมรุ ตามคติไตรภูมิเป็นสําคัญ 2) สัตว์หิมพานต์ในสมุดไทยดำ สมัยราชกาลที่ 3 เป็นภาพร่างที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เฉพาะงานพระเมรุ และมีข้อจำกัดการเลือกประเภทสัตว์ โดยมีท่าทางลักษณะเดียวกันจำนวน 77 ชนิด สัตว์ทุกตัวมีบุษบกตั้งอยู่บนหลังเพื่อตั้งภาชนะรองรับไทยทานวัตถุสำหรับถวายพระ ส่วนสัตว์หิมพานต์ที่สร้างสรรค์โดยศิลปินร่วมสมัยมีลักษณะทางกายวิภาคที่แสดงกล้ามเนื้อเสมือนจริงแบบศิลปะตะวันตก และการใช้ลวดลายจิตรกรรมไทยแบบศิลปะตะวันออกผสมร่วมเข้าด้วยกันในรูปแบบอุดมคติ 3) การสร้างสรรค์จิตรกรรมไทยร่วมสมัย มีจำนวน 15 ภาพ เกิดจากการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับสัตว์หิมพานต์ที่ศึกษานำมาเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบการผสมร่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์หิมพานต์ ซึ่งเป็นจุดเด่นในการสร้างสรรค์ที่แตกต่างออกไปจากการสร้างสรรค์สัตว์หิมพานต์ในอดีต ทั้งนี้ผู้ศึกษาเลือกใช้สีเบญจรงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่รวมศิลปะแบบตะวันตกและตะวันออกเข้าด้วยกันแบบอุดมคติ โดยการสร้างสรรค์จะนำไปสู่การสื่อธรรมเรื่องมหาภูตรูป

References

ประสงค์ ลือเมือง. สัมภาษณ์. 11 สิงหาคม 2566

ปาริฉัตร์ กรอบอนันต์. (2556). “การศึกษาร่างผสมในงานศิลปกรรมของช่วง มูลพินิจ”, วิทยานิพนธ์ศิลปะ มหาบัณฑิต, สาขาวิชาทฤษฎีศิลป์, กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปกร. 138.

พระมหาบุญนำ ปรกกโม (คนหมั่น). (2558). “ศึกษาวิเคราะห์ธาตุ4 ในมหาหัตถิปมสูตร”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลักษณ์ คูณสมบัติ.(2554). “มารผจญในงานจิตรกรรมของถวัลย์ ดัชนี”. วารสาร Veridian-E-Journal. 4(2): 63-80.

ลิปิกร มาแก้ว. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา. สัมภาษณ์ 24 สิงหาคม 2566

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2564). “เทวดา ยักษ์ และสัตว์ในจิตนาการของสล่าลำพูน” ในพุทธสถานเมืองลำพูน. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี. (2566). พุทธศิลป์ล้านนา : รูปแบบ แนวคิด และการวิเคราะห์. เชียงใหม่ : เชียงใหม่สแกนเนอร์.

สุดวดี สุวรรณ, สุชาติ เถาทอง. (2562). “สัตว์หิมพานต์ในจิตนาการ อิทธิพลจากคติความเชื่อกับภาพลายเส้นของสุรศักดิ์ เจริญวงศ์”. วารสาร Humanities social sciences and arts: 257-258.

สุวัฒน์ แสนขัติยรัตน์. (2558). พราวรุ้งแห่งพระโพธิญาณ. กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30