การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมประเพณีจองพารา พิธีการลอยพระอุปคุตของชาวไทใหญ่ บ้านแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
คำสำคัญ:
พระอุปคุต, จองพระอุปคุต, ประเพณีการไหว้บูชาพระอุปคุต, พิธีการลอยจองพระอุปคุตบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา ความสำคัญ คติความเชื่อ เรื่องพระอุปคุต 2) เพื่อศึกษาประเพณีการลอยจองพาราบูชาพระอุปคุตของชาวไทใหญ่บ้านแม่อายหลวง 3) เพื่อสร้างสรรค์งานจิตรกรรมประเพณีการลองจองพาราบูชาพระอุปคุตของชาวไทใหญ่บ้าน แม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ
ผลการวิจัยพบว่า 1) พระอุปคุต เป็นพระภิกษุองค์สำคัญในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และเป็นปฐมาจารย์แห่งนิกายสรวาสติวาท จากประวัติความเป็นมาในเอกสารนำไปสู่ความเชื่อที่ก่อให้เกิดประเพณีไหว้พระอุปคุต 2) ประเพณีการลอยจองพาราบูชาพระอุปคุต เป็นประเพณีที่ชาวไทใหญ่ในเขตอำเภอแม่อาย และอำเภอใกล้เคียงที่นับถือพระพุทธศาสนายังคงรักษาขนมธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรม ทำให้เกิดประเพณีไหว้พระอุปคุต โดยเป็นการนำไม้ไผ่และกระดาษมาสร้างจองหรือปราสาทจำลองเพื่อทำบุญถวายแก่พระอุปคุต และนำใส่แพไปลอยแม่น้ำตามความเชื่อที่ว่าพระอุปคุตอาศัยอยู่ใต้สะดือทะเล 3) การสร้างสรรค์ภาพจิตรกรรมไทยประเพณีร่วมสมัย บนผ้าใบ ขนาด 100x200 เซนติเมตร จำนวน 3 ภาพ ได้แก่ (1) ภาพจิตรกรรมอดีตชาติพระอุปคุต ที่ปรากฏในคัมภีร์พระธรรมเทศนา ฉบับล้านนา กล่าวถึงพระพุทธองค์ทรงพยากรณ์ไว้ว่า พระอุปคุตจะเป็นผู้ทำพุทธกิจแทน หลังจากที่พระองค์ปรินิพพาน (2) ภาพจิตรกรรมประวัติพระอุปคุตตอนปราบ พญามาร (3) ภาพจิตรกรรมประเพณีการลอยจองพาราบูชาไหว้พระอุปคุตของชาวไทใหญ่บ้านแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่
References
ครูเจ้าปั่นติ๊ต๊ะ. (2512).คัมภีร์ธรรมไทยใหญ่เรื่องพระอุปคุต. รวบรวมและเผยแพร่โดยเจ้าซอภณะ. เมืองหนอง: รัฐฉาน.
ประเวช คำสวัสดิ์. (2548). “การศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อเรื่องพระอุปคุตในวรรณกรรมไทใหญ่ จังหวัด.
แม่ฮ่องสอน”. ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต, สาขาวิชาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.
พระมหานิรินทร์ นรินฺโท. (2548).ธรรมวาไรตี้ (Dharma Variety). กรุงเทพมหานคร: บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งอแนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).
พระธรรมปิฏก (ประยุทธ ปยุตฺโต). (2540). พระพุทธศาสนาในอาเซีย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา
พระสัทธรรมโฆษเถระ ผู้รจนา. (2528). โลกบัญญัติ. แปลโดย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก (พิเศษ) แย้ม ประพัฒน์ทอง ป.ธ.9, อ.ด. กรุงเทพมหานคร: หจก. โรงพิมพ์อักษรไทย.
พระวิทญ์ ธมฺมวโร (ธนานภรัตน์), วิโรจน์ วิชัย, พูนชัย ปัณฑิยะ. (2561). “วิเคราะห์คติเชิงปรัชญาในเรื่องพระอุปคุต”. วารสารปณิธาน: วารสารวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา. (14)2, 346.
วัดแม่อายหลวง. (2555). ประวัติการทำบุญบูชาไหว้พระอุปคุตบัวปรก วัดแม่อายหลวง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: บ้านอิสราภรณ์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส. (2565). ปฐมสมโพธิกถา. นนทบุรี: บริษัท วิชั่นพรีเพรส จำกัด.
สุลักษณ์ ศิวรักษ์. (2552). ชื่อความเข้าใจในเรื่องพระเจ้าอโศกและอโศกาวทาน. กรุงเทพมหสนคร: เรือแก้วการ.
อภิชาติ ยอดสุวรรณ. (2534). “บทบาทของพระอุปคุต ในเรื่องมหาอุปคุต ฉบับล้านนา” .วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิชาภาษาและวรรณกรรมล้านนา. มหาบัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Geiger, Wilhelm, ed. (1908). The Mahavamsa, London: Pali Text Socity.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.