ศิลปกรรมบำบัด: พระเจดีย์สร้างความสุข ชุมชนบ้านแม่ห่าง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
คำสำคัญ:
ศิลปกรรมบำบัด, เจดีย์, ความสุขบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาที่มาองค์ประกอบการสร้างเจดีย์ (พุทธศิลปะ) วัดแม่ห่าง ต.เวียงกาหลง อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย 2) เพื่อศึกษาศรัทธาจากการสร้างเจดีย์ หลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาผ่านกระบวนการสร้างเจดีย์วัดแม่ห่างทำให้คนในชุมชนเกิดความสุข และ 3) เพื่อบูรณาการพุทธศิลป์ลวดลายเวียงกาหลง พัฒนาจิตใจชุมชน และเกิดการอนุรักษ์สืบสานต่อไปในอนาคต การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดกิจกรรมวิจัยเชิงปฏิบัติการในพื้นที่ ได้แก่ วัดแม่ห่าง ตำบลเวียงกาหลวง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กับกลุ่มประชากรเป้าหมาย ได้แก่ พระสงฆ์ ชาวบ้านในชุมชน ช่างสร้างเจดีย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 30 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ที่มาองค์ประกอบการสร้างเจดีย์ เกิดขึ้นจากความสามัคคีกันของพระสงฆ์และชาวบ้านในทุกขั้นตอนตั้งแต่การประชุมวางแผน ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และการจัดงานเฉลิมฉลองพระเจดีย์ โดยมีลักษณะพุทธศิลป์ในรูปแบบเจดีย์ทรงล้านนาแบบฐานเขียงสี่เหลี่มจตุรัส องค์เจดีย์มีสีขาว ตกแต่งลวดลายด้วยสีทอง และการสร้างบริเวณพื้นที่รอบพระธาตุเป็นพื้นที่เรียนรู้ลวดลายเวียงกาหลง 2) ความศรัทธาจากการสร้างเจดีย์มีความสำคัญมากสำหรับชาวบ้าน เพราะเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกมั่นคงและปลอดภัย การมีเจดีย์ในวัดจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและความศรัทธาให้กับชุมชน รวมทั้งเป็นศูนย์รวมจิตใจที่สำคัญ 3) การบูรณาการพุทธศิลป์ลวดลายเวียงกาหลงในการสร้างพระเจดีย์ เพื่อพัฒนาจิตใจชุมชนสอดคล้องกับหลักธรรม ìพละ 5î ซึ่งประกอบด้วยศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ช่วยพัฒนาความสุขและความมั่นคงทางจิตใจของชุมชน โดยชาวบ้านร่วมมือกันในทุกขั้นตอนการก่อสร้าง นอกจากนี้ การบูรณาการพุทธศิลป์ลวดลายเวียงกาหลงยังช่วยอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ส่งเสริมจิตใจชุมชน และเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับคนรุ่นหลัง
References
กรมศิลปากร. (2565). เครื่องถ้วยเวียงกาหลง. แหล่งที่มา: https://finearts.go.th/main/view/14240-เครื่องถ้วยเวียงกาหลง.
ชัปนะ ปิ่นเงิน. (2552). จักกวาฬทีปนี : ต้นแบบทางความคิดพุทธลักษณ์ล้านนา. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ดรุฑ สิทธิรัตน์. (2565). ทักษิณาวรรต: ศิลปะบำบัดในมิติทางพระพุทธศาสนา. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 5(4) , 1571 - 1582
ดำรงศักดิ์ มีสุนทร. (2556). ความสัมพันธ์วัดกับชุมชน กรณีศึกษาวัดนามสมมุติกับชุมชนสมมุติ จังหวัดกาญจนบุรี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. การบริหารการพัฒนาสังคม คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2558). พระญามังราย ปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา (พ.ศ.1782-1854). พิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: มูลนิธิสถาบันพัฒนาเมืองเชียงใหม่.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2564). มิติเรื่องฐานทรัพยากรกับเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร : โครงการยุทธศาสตร์นโยบายฐานทรัพยากร.
พระมหาพีรพงษ์ พยัคกาฬ. (2545). ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนผ่านประเพณีการเทศน์มหาชาติ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการศึกษานอกระบบ: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เพิ่มศักดิ์ วรรยางค์กูร. (2545). วิถีธรรมวิถีไทย. กรุงเทพมหานคร: อาร์ทลีย์ เพรส.
พูนชัย ปันธิยะ. (2558). พุทธศิลป์พุทธธรรมในการสืบทอดประเพณีไทยและอาเซียน. สารนิพนธ์พุทธศาสตรบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภานุวัฒน์ เนียมบาง. (2553). ศึกษาเรื่องการศึกษาปรัชญาในงานพุทธศิลป์ต่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนา กรณีศึกษา : วัดร่องขุ่น ต.ป่าอ้อดอนชัย อ.เมือง จ.เชียงราย. สารนิพนธ์ศาสนศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหิดล.
รัตนาพร เศรษฐกุล. (2557). ฮอมพญา 30 ปี มจร วิทยาเขตเชียงใหม่ (จากแคว้นโยนสู่แคว้นพิงค์ การขยายอำนาจของพญามังราย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2551). พุทธปฏิมา งานช่างพลังแห่งศรัทธา. นนทบุรี: โรงพิมพ์มติชนปากเกร็ด.
ศูนย์ศึกษาเอกสารโบราณ (ศ.อ.บ.) (2559). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ นักเรียน นักศึกษา และประชาชน. เชียงใหม่: บริษัท ทรีโอ แอดเวอร์ไทซิ่ง แอนด์ มีเดีย จำกัด.
สายอักษร รักคง. (2564). จิตวิญญาณแห่งความเป็นไทย ผ่านภาพลักษณ์ทางศิลปะบำบัดจิต. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต. บัณฑิตศึกษา: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
อภิชิต สิริชัย. (2558). 777 ปี ชาตกาลพระญามังรายหลวง. เชียงราย: สำนักพิมพ์ล้อล้านนา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.