รูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าและวิกฤตหมอกควัน บนฐานหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนาแบบพหุภาคี จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระมหาปุณณ์สมบัติ ปภากโร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • พระวีระชาติ วีรชาโต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • เชน เพชรรัตน์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

รูปแบบการสร้างความร่วมมือ, ปัญหาไฟป่าและวิกฤตหมอกควัน, หลักธรรมทางพุทธศาสนา ภูมิปัญญาล้านนา, พหุภาคี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาไฟป่าและวิกฤตหมอกควันบนฐานหลักธรรมทางพุทธศาสนากับภูมิปัญญาล้านนาแบบพหุภาคี จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการสร้างความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาไฟป่าฯ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าอาวาส ผู้นำชุมชน ประธาน ผู้ใหญ่บ้าน และแกนนำกลุ่มเกษตรชุมชน ปราชญ์ชุมชน จำนวน 17 รูป/คน ใช้แบบสัมภาษณ์ประกอบกับการสนทนากลุ่มวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

                       ผลการวิจัยพบว่า  1) ความร่วมมือในการดำเนินการแก้ปัญหาจากความร่วมมือของชุมชนโดยมีแกนนำหลักคือ เจ้าอาวาสวัดบ้านแม่กลางหลวง พ่อหลวง คณะกรรมการ หมู่บ้าน เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ เจ้าหน้าที่กรมอุทยาน และภาคีเครือข่ายจากองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ และวัดสนับสนุนทำกิจกรรม โดยเฉพาะกิจกรรม “อินทนนท์ร่วมกันเชื่อมสัมพันธ์ 4 อำเภอ ” โดยผสานความร่วมมือจากพหุภาคี พหุวัฒนธรรม พหุประเพณี         2) มีการพัฒนารูปแบบการสร้างความร่วมมือโดย 1. ความร่วมมือผ่านกิจกรรมนำโดยเจ้าอาวาสวัดแม่กลางหลวง การจัดกิจกรรม “อินทนนท์ร่วมกันเชื่อมสัมพันธ์ 4 อำเภอ” สร้างการมีส่วนร่วมกันทุกช่วงวัย 2. ความร่วมมือผ่านการผสมผสานความพหุวัฒนธรรม พหุประเพณี เคารพในความแตกต่างเรียนรู้พหุวิถี 3. การผสานเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรไม่แสวงหาผลประโยชน์ NGO 4. การสร้างการมีส่วนร่วม และ 5. การสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวม 3) ได้นำเสนอกิจกรรมความร่วมมือ “อินทนนท์ร่วมกันเชื่อมสัมพันธ์ 4 อำเภอ” และรูปแบบความร่วมมือผ่านการผสมผสานความพหุวัฒนธรรม พหุประเพณี เคารพในความแตกต่างเรียนรู้พหุวิถี ด้วย “เวที พิธี สาปแช่ง คนเผ่าป่า” โดยสร้างการมีส่วนร่วม และเน้นรูปแบบการสร้างจิตสำนึกต่อส่วนรวมร่วมกัน

References

กนกวรรณ ทุมอนันต์. อดิศักดิ์ ทุมอนันต์ และ ฉัตรชัย ชมชารี. (2564). การจัดการป่าชุมชนแบบมี ส่วนร่วมกรณีศึกษาป่า ชุมชนดงหัน บ้านท่ามวง ตำบลท่ามวง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์. 5(1), 37-38.

กิติศักดิ์ ทองมีทิพย์. (2564). พัฒนาการเกษตรกรรมของประเทศไทย: ในมิติด้านการพัฒนาชุมชนและ คุณภาพชีวิต. วารสารพัฒนศาสตร์. 4(1), 132-162.

ณัฐกานต์ ศิริรัตน์. (2565). ไฟป่า สถานการณ์ที่ไทยเผชิญอย่างต่อเนื่อง. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยี อวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน). สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.gistda.or.th/ news_view.php?n_id=5414&lang=TH.

เดือนนภา ภู่ทอง. (2561). การจัดการป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืน โดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วม สาธารณะ และจารีตประเพณีท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ. วารสารการบริหารและการจัดการ, 6(2), 86.

เทศบาลตำบลบ้านกลางหลวง. (2564). บ้านแม่กลางหลวง. สืบค้นเมื่อ 6 ธันวาคม 2564. จาก https://www.banloung.go.th/content.php?cid=20170718102553L2QFNjh.

พระครูพิพิธจารุธรรม, พระครูสุมณธรรมธาดา เกื้อชัยภูมิ และ ภูวเดช สินทับศาล. (2557). แนวทางการอนุรักษ์ป่าตามหลักคำสอนพระพุทธศาสนาเถรวาท. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ พุทธชินราช, พิษณุโลก.

รุ่งทิพย์ กล้าหาญ และ บรรชร กล้าหาญ. (2558). การเสริมสร้างพลังชุมชนในการจัดการปัญหา หมอกควัน ด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. รายงายวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ ราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่.

สายชล สง่าศรี และ จีรศักดิ์ ปันลำ. (2565). การจัดการปัญหาไฟป่าและหมอกควันตามหลักพุทธนิเวศวิทยาของหน่วยป้องกันและพัฒนาป่าไม้เกาะคา จังหวัดลำปาง. วารสารปัญญา. 29(1), 78-79.

สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. (2565). มองโลกมองเรา. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2566, จากhttps://gistda.or.th/ewtadmin//ewt/gistda_web/news_view.php?n_id= 6719&lang=TH.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30