การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้วยหลักอิทธิบาท 4

ผู้แต่ง

  • พระวิทวัส โกฎิฉกรรจ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สมชัย ศรีนอก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, หลักอิทธิบาท 4, ชั้นเรียน

บทคัดย่อ

การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้วยหลักอิทธิบาท 4 เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่ผู้สอนต้องตระหนักเนื่องจากการจัดการในชั้นเรียนนั้นส่งผลต่อตัวผู้เรียน ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุ หรือทางกายภาพให้มีบรรยากาศน่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนเท่านั้น แท้จริงแล้วการจัดการชั้นเรียนได้ดีก็ย่อมทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีและมีความสุขในการเรียนทั้งในด้านพฤติกรรมสมาธิในการเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้เรียนต้องได้มีโอกาสลงมือกระทำมากกว่าการฟังเพียงอย่างเดียว ต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการอ่าน การเขียน การโต้ตอบ และการแก้ปัญหาโดยการร่วมมือระหว่างผู้เรียน ในการนี้ครูต้องลดบทบาทในการสอน โดยไปเพิ่มกระบวนการและกิจกรรมที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นในการจะทำกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น บทความนี้มีวัตถุประสงค์เขียนขึ้นเพื่อเป็นแหล่งการศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้สำหรับ นิสิต นักศึกษา ตลอดจนบุคคลที่มีความสนใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้สู่กระบวนการปฏิบัติจริงในชั้นเรียน ดังนี้ 1. เทคนิคของการจัดการเรียนรู้ที่หลากหลาย 2. สรุปความแตกต่างระหว่างการเรียนรู้เชิงรุก กับการสอนที่ผู้สอนเป็นศูนย์กลางโดยผู้เรียนเป็นฝ่ายรับความรู้อย่างเดียว 3. การจัดการชั้นเรียนการจัดชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ และครูผู้สอนใช้ตัวชี้วัดความรู้ความเข้าใจ 6 ด้าน และการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน ด้วยหลักอิทธิบาท 4 เพื่อให้ผู้เรียนและครูผู้สอนให้สามารถปรับตัวเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง ต่อไป

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). แนวโน้มการศึกษาไทยในครึ่งทศวรรษหน้า. เข้าถึงได้ จาก http://www.kriengsak.com/node/77 สืบค้นเมื่อ 26 เมษายน 2566.

พงษ์พัชรินทร์ พุธวัฒนะ. (2558). เอกสารประกอบการสอน การจัดการชั้นเรียนและสิ่งแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2550). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์รวมเล่ม 3 ภาค ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จันทร์เพ็ญ.

พุทธทาสภิกขุ และปัญญานันทภิกขุ. (2544). คุณธรรมของชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพมหานคร : ธรรมสภา.

ไพผกา ผิวดำ. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพสู่ความสำเร็จของสถานศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 3(1), 11-18.

มนตรี ศิริจันทร์ชื่น. (2554). การสอนนักศึกษากลุ่มใหญ่ในรายวิชา Gsoc 2101 ชุมชนกับการพัฒนา โดยใช้การสอนแบบ Active learning และการใช้บทเรียนแบบ e-learning. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

วัฒนา หงสกุล. (2018). การจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. รายงานการประชุม. Graduate School Conference. 1(2), 479-486.

ศศิธร ขันติธรางกูร. (2551). การจัดการชั้นเรียนของครูมืออาชีพ. วารสารครุศาสตร์. 1(2), 1-13.

ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2559). การจัดการเรียนรู้ที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคล. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศิลปากร. 13(2), 65-75.

สถาพร พฤฑฒิกุล. (2558). เอกสารประกอบการฝึกอบรม คุณภาพผู้เรียนเกิดจากกระบวนการเรียนรู้. สระแก้ว: คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). แนวปฏิบัติการวัดผล และประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุรางค์ โค้วตระกูล. (2548). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Brophy, P.R. (1996). Classroom Management and Discipline. London: Longman.

Felder, R. & Brent, R. (1996). Navigating the Bumpy Road to Student-Centered Instruction. Journal of College Teaching. 44(2), 43-47.

Sheffield Hallam University. (2000). Active Teaching and Learning Approaches in Science: Workshop ORIC Bangkok.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30