วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักพุทธจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระมหานาถ โพธญาโณ (โปทาสาย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วิเคราะห์, คุณค่า, คัมภีร์สมันตปาสาทิกา, พุทธจริยศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมา โครงสร้าง สาระสำคัญ และคุณค่า ของคัมภีร์สมันตปาสาทิกา 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธจริยศาสตร์ และคุณค่าของพุทธจริยศาสตร์  และ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักพุทธจริยศาสตร์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ประกอบการศึกษาวิจัยเอกสาร  และการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้เชี่ยวชาญทางพระพุทธศาสนา

ผลการวิจัยพบว่า 1) คัมภีร์สมันตปาสาทิกา เป็นคัมภีร์ชั้นอรรถกถาพระวินัยภาษาบาลี ที่อธิบายหลักการและข้อที่พึงปฏิบัติในพระวินัย มีโครงสร้างและสาระสำคัญ ดังนี้ มหาวิภังควรรณนา ภิกขุนีวิภังควรรณนา มหาวรรควรรณนา จุลวรรควรรณนา ปริวารวรรณนา  คัมภีร์สมันตปาสาทิกา มีคุณค่าในด้านต่างๆ เช่น ด้านประวัติศาสตร์ ด้านจารีตประเพณี ด้านพุทธวิธีการสอน ด้านการศึกษาพระวินัยปิฎก ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ไทยด้านการตีความหลักคำสอน โดยที่คัมภีร์สมันตปาสาทิกาได้อธิบายหลัการพร้อมทั้งเชื่อมโยงและประมวลเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เข้าใจพุทธบัญญัติในพระวินัยปิฎกชัดเจนยิ่งขึ้น 2) หลักพุทธปรัชญาด้านจริยศาสตร์ ให้มุมมองด้านคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ทั้งในเชิงจิตวิสัย และเชิงวัตถุวิสัย ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการดำเนินชีวิตของบุคคล ซึ่งอาศัยหลักคำสอนทางศีลธรรมในพุทธศาสนามาเป็นฐานตัดสินคุณค่าว่า ถูกต้อง ดีงาม เพื่อยกระดับของคุณค่าทางความประพฤติให้สูงขึ้น เกณฑ์ในการพิจารณาคุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักทางพุทธจริยศาสตร์นั้น เป็น กฎเกณฑ์ข้อห้าม คำแนะนำเชิงปฏิบัติที่มีลักษณะเฉพาะของตน ในการตัดสินคุณค่าทางพุทธจริยศาสตร์ ใช้เกณฑ์แบบสัมพัทธนิยม (Relativism) ซึ่งตั้งอยู่บนเงื่อนไข เช่น เจตนา ผลที่เกิด และผลกระทบเป็นหลัก  3) วิเคราะห์คุณค่าของคัมภีร์สมันตปาสาทิกาตามหลักพุทธจริยศาสตร์ ได้พบเกณฑ์การตัดสินข้อวัตรปฏิบัติตามพระธรรมวินัยที่ได้รับการยอมรับว่ามีมาตรฐานที่ถูกต้องที่สุด ให้เกิดคุณค่าด้านสร้างความยุติธรรมในสังคมสงฆ์ เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกกล่าวหาว่าล่วงละเมิดพระบัญญัติ จะได้รับการพิจารณาตัดสินโทษโดยปราศจากอคติ  นอกจากนี้ ได้พบคุณค่าความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต่อบุคคล บุคคลต่อสังคม ตามหลักวัตรต่างๆ มีอุปัชฌายวัตร สัทธิวิหาริกวัตร เป็นต้น ที่ปรากฏในสมันตปาสาทิกา   

References

พระธรรมปิฎก. (2543). รู้จักพระไตรปิฎกเพื่อเป็นชาวพุทธที่แท้. กรุงเทพมหานคร: เอดิสัน เพรส โพรดัคส์.

พระพุทธโฆษาจารย์. (2515). ปัญจมสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย. แปลโดย พระเทพเวที (จวน อุฏายี). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กงฺขาวิตรณีอฏฺกถา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2552). อรรถกถาภาษาไทย พระวินัยปิฎก สมันตปาสาทิกา ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีดวงพร คำหอมกุล. (2544). การศึกษาเชิงวิเคราะห์พุทธจริยศาสตร์ในธัมมปทัฏฐกถา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แม่ชีกฤษณา รักษาโฉม. (2545). ศึกษาเชิงวิเคราะห์บทบาทของพระวินัยธรในพระวินัยปิฎก ศึกษาเฉพาะกรณีพระอุบาลีเถระและพระปฏาจาราเถรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ธานี สุวรรณประทีป. (2559). คัมภีร์สารัตถสมุจจยจตุภาณวารอรรถกถา: การแปลและการวิเคราะห์. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27