ศึกษาวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีแห่ผีตลก ของชาวไท-ยวน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์
คำสำคัญ:
หลักพุทธธธรรม, ปะเพณีแห่ผีตลก, คุณค่าประเพณี, ไท-ยวนอำเภอท่าปลาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาของประเพณีแห่ผีตลกของชาวไท-ยวน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 2) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมที่ปรากฏในประเพณีแห่ผีตลกของชาวไท-ยวนอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ 3) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าประเพณีแห่ผีตลก ของชาวไท-ยวน อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 27 ท่าน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประวัติความเป็นมาที่ยาวนานเกินกว่าร้อยปี เป็นประเพณีที่สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องผี มีจุดประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อสื่อสารความเชื่อเรื่องหลักกรรมและบูชาผึบรรพบุรุษ 2) เพื่อร่วมขบวนแห่นาคบวชพระและงานบุญเทศน์มหาชาติ 3) เพื่อความสนุกสนาน และเป็นแรงจูงใจในการร่วมงานบุญบวชพระและงานบุญออกพรรษา 4) เพื่อเชิญชวนร่วมบริจาคในการทำบุญประเพณีเทศน์มหาชาติและบุญออกพรรษา เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มความปรารถนาทางใจ เป็นเสมือนเครื่องมือช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางใจ มีพัฒนาการ และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางวัฒธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง 2) เป็นประเพณีที่สัมพันธ์กับความเชื่อเรื่องผี มีจุดประสงค์สำคัญ คือ 1) เพื่อสื่อสารความเชื่อเรื่องหลักกรรมและบูชาผึบรรพบุรุษ 2) เพื่อร่วมขบวนแห่นาคบวชพระและงานบุญเทศน์มหาชาติ 3) เพื่อความสนุกสนาน และเป็นแรงจูงใจในการร่วมงานบุญบวชพระและงานบุญออกพรรษา 4) เพื่อเชิญชวนร่วมบริจาคในการทำบุญประเพณีเทศน์มหาชาติและบุญออกพรรษา เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นเพื่อเติมเต็มความปรารถนาทางใจ เป็นเสมือนเครื่องมือช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางใจ มีพัฒนาการ และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางวัฒธรรม สังคม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง 3) พระพุทธศาสนามีมุมมองทางโลกทั้งแบบโลกวิสัย ที่ชีวิตต้องดำเนินไปตามวิสัยของโลกที่ยังมีกามคุณ เป็นฐานมีผลแบบโลกียสุข เป็นสุขที่เกิดและเสวยผลได้ชั่วคราว และแบบจิตวิสัย ที่ชีวิตต้องดำเนินไปเพื่อสุขประณีต ซึ่งต้องออกจากกามคุณ มีผลแบบโลกุตรสุข คุณค่าประเพณีแห่ผีตลก สามารถมองเห็นได้ 5 ด้าน คือ ด้านความเชื่อและจิตใจ ก่อให้เกิดสันนาการมีสุข รื่นเริงใจ ด้านวัฒนธรรมประเพณี ก่อให้เกิดการอนุรักษ์ส่งเสริมประเพณีให้เกิดความมั่งคงทางวัฒนธรรมประเพณี ด้านสังคมและการปกครอง ก่อให้เกิดความรักความศรัทธาสามัคคีความเรียบร้อยในสังคม ด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลการแลกเปลี่ยนและสร้างรายได้ในสังคม และด้านการศึกษา ก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ แนวคิดในมิติใหม่ ๆ เพื่อประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชีวิตของตนเองและสังคม
References
ดนัย อู่ทรัพย์. ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอท่าปลา. สัมภาษณ์. 7 ตุลาคม 2564.
ไทยโรจน์ พวงมณี. (2554). อัตลักษณ์ประเพณีผีตาโขน ประเพณีผีขนน้ำ และประเพณีแห่ต้นดอกไม้. รายงานวิจัย. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม : กระทรวงวัฒนธรรม.
ธีร์กัญญา อินทอง. (2545). องค์ความรู้ท้องถิ่นตำบลน้ำหมัน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ธีร์กัญญา อินทอง. (2565). อาจารย์ประจำหลักสูตรคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏอุตรดิตถ์. สัมภาษณ์. 19 มิถุนายน.
นราธิป ทับทัน และชินศักดิ์ ตัณฑิกุล. (2560). ภูมิหลังการเคลื่อนย้ายประชากรชาวยวนเชียงแสนและการตั้งถิ่นฐานในบริเวณตอนกลางของประเทศไทย. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาตร์. 6(ฉบับพิเศษ), 30.
พระครูปลัดสุรวุฒิ แสงมะโน และคณะ. (2562). ผีตาโขน: พุทธศรัทธาในรูปแบบของวัฒนธรรมพื้นบ้าน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นคร. 8(2), 213.
พระอธิวัฒน์ ธรรมวัฒน์ศิริ. (2557). พุทธศิลปกรรมบำบัด: จิตรกรรมภาพพระบฏจากเวสสันตรชาดก ในชุมชนบ้านห้วยชมพู อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(1), 10.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2561). รายงานการสำรวจสภาวะสังคมวัฒนธรรมและสุขภาพจิต พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: กองสถิติพยากรณ์.
สุรินทร์ ปริมาณ. (2564). นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลท่าปลา. สัมภาษณ์. 26 มิถุนายน
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.