วิเคราะห์แนวคิดเรื่องธรรมชาติของชาร์ลส์ ดาร์วิน ผ่านมุมมองทางพระพุทธศาสนาเถรวาท
คำสำคัญ:
ธรรมชาติ, ชาร์ลส์, ดาร์วิน, พระพุทธศาสนาเถรวาทบทคัดย่อ
บทความวิจัย มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและพัฒนาการของธรรมชาติในทางปรัชญาและศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดเรื่องธรรมชาติของชาร์ลส์ ดาร์วิน 3) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดเรื่องธรรมชาติของของชาร์ลส์ ดาร์วิน ในทัศนะของพระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยศึกษาผลงานทางวิชาการของชาร์ลส์ ดาร์วิน พระไตรปิฎก เอกสารวิชาการทางพระพุทธศาสนา และ ผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง แล้วนำเสนอผลการวิจัยด้วยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการทางความคิดในเรื่องธรรมชาติในทางปรัชญาและศาสนาเต็มไปด้วยข้อถกเถียงเรื่องความมีอยู่และความจริงแท้ในธรรมชาติ ซึ่งตั้งอยู่บนแนวคิดพื้นฐาน 3 คือ สสารนิยม เชื่อว่าสิ่งที่เป็นจริง คือ โลกทางวัตถุ ได้แก่สสารและพลังงาน ซึ่งอยู่ในขอบเขตของการรับรู้ทางประสาทสัมผัสเท่านั้น จิตนิยม เชื่อว่า นอกจากโลกทางวัตถุแล้วยังมีความจริงอื่น คือ นามธรรม แม้จะยอมรับความจริงทางประสาทสัมผัส แต่ก็รับความจริงนามธรรมเป็นความจริงสูงสุด เนื่องจากใช้ประเมินค่าความจริงทางวัตถุ ในขณะที่ ธรรมชาตินิยม เชื่อว่า ทุกสิ่งประกอบขึ้นด้วยสิ่งธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวกำหนดคุณสมบัติของสิ่งทั้งหลายรวมทั้งมนุษย์ และสิ่งนามธรรม อย่างที่ศึกษากันในวิชาวิทยาศาสตร์ 2) ด้านแนวคิดเรื่องธรรมชาติ ชาร์ลส์ ดาร์วิน ค้นพบทฤษฏีวิวัฒนาการ ทำให้สามารถอธิบายการเกิดขึ้นและการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในธรรมชาติว่า ดำรงอยู่โดยอาศัยการปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตที่สามารถอยู่รอดได้ก็ด้วยการปรับเปลี่ยนทางกายภาพ ดาร์วิน เรียกลักษณะเช่นนี้ว่า การคัดสรรโดยธรรมชาติ คำอธิบายเช่นนี้ นับว่าท้าทายความเชื่อทางศาสนจักรที่ส่งอิทธิพลอย่างแพร่หลายต่อความคิดความเชื่อของผู้คนในสมัยนั้น แนวคิดดังกล่าวของดาร์วินจึงเป็นไปในแบบมนุษยนิยมและอเทวนิยม 3) การค้นพบของดาร์วินเรื่องธรรมชาติดังกล่าว สอดคล้องกับโลกทัศน์และหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาเถรวาทที่ว่า สิ่งทั้งหลายในธรรมชาติประกอบจากส่วนต่าง ๆ ที่อิงอาศัยเหตุปัจจัยกันเกิดขึ้น สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติยังต้องดำรงอยู่ภายใต้ภาวะความเปลี่ยนแปลง ความบีบคั้น และการที่บังคับบัญชาไม่ได้ หากแต่พระพุทธศาสนาชี้ให้เห็นว่า มนุษย์มีเป้าหมายในการพัฒนาตนเอง และเน้นย้ำให้เห็นถึงการพัฒนาภาวะด้านในและการเจริญวิปัสสนาเพื่อความหลุดพ้นจากความทุกข์
References
ปรีชา ช้างขวัญยืน. (2549). ปรัชญากับวิถีชีวิต. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
วิทย์ วิศทเวทย์. (2557). ปรัชญาทั่วไป มนุษย์ โลก และความหมายของชีวิต. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.
อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2546). คู่มืออภิปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.
Charles Darwin. (2009). The Expression of the Emotions in Man and Animals. London: Penguin Books.
Charles Darwin. (1998). The Origin of Species. Hertfordshire: Wordsworth Editions.
John van Wyhe. (2018). Darwin: The Story of the Man and His Theories of Evolution. London: Andre Deutsch.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.