สัญศาสตร์: การถอดรหัสบทสวดมนต์พาหุงจากจิตรกรรมฝาผนัง พระที่นั่งพุทไธสวรรย์
คำสำคัญ:
บทสวดมนต์, พาหุง, จิตรกรรมฝาผนัง, พระที่นั่งพุทไธสวรรย์, สัญศาสตร์บทคัดย่อ
วรรย์เพื่อนำมาวิเคราะห์สัญญะ เพื่อเปรียบเทียบเหตุการณ์ในบทสวดมนต์พาหุงกับเหตุการณ์ในบริบทเชิงวัฒนธรรม บทความนี้เป็นการทบทวนวรรณกรรม และนำมาววิเคราะห์เนื้อหา นำเสนอด้วยการพรรณนา
พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ตั้งอยู่ในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยที่เนื้อหาหลักของภาพเขียนที่อยู่ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์บริเวณผนังระหว่างหน้าต่างนั้นมีเรื่องราวเกี่ยวกับ พระพุทธประวัติ โดยมีความพิเศษที่นอกเหนือจากภาพจิตรกรรมที่มีความงดงาม และเก่าแก่ที่สุดที่ถ่ายทอดโดยช่างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ยังมีความพิเศษที่เหตุการณ์ที่ถูกเลือกมาวาดนั้นมีบางส่วนตรงกับเรื่องราวสำคัญทั้งแปดที่ถูกกล่าวถึงในบทสวดมนต์ชัยมงคลคาถา (พาหุง) ที่ชาวไทยให้ความสนใจนำมาสวดเพื่อสรรเสริญชัยชนะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ภาพจิตรกรรมฝาผนังถูกนำมาถอดรหัสเปรียบเทียบระหว่างเหตุการณ์ในสมัยพุทธกาลและเรื่องราวในบริบทปัจจุบัน ด้วยหลักการสัญศาสตร์ของบุคคลหลักสองท่าน คือ ชาร์ลส์ แซนเดอร์ส เพิร์ส นักปรัชญาชาวอเมริกา และ แฟรดิน็องด์ เดอ โซซูร์ นักภาษาศาสตร์ชาวสวิสเซอร์แลนด์ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าความสัมพันธ์ของสิ่งแทนความนี้มีสภาพเป็นพลวัต ที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปได้ตามปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรม หรือ สังคม อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการการถอดรหัสดังกล่าวแล้ว การนำเนื้อหาสาระของแก่นธรรมมาถ่ายทอดในในสภาวะแวดล้อมปัจจุบันนั้นยังคงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ เพื่อพุทธศาสนิกชนที่สนใจจะได้นำหลักธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประยุกต์ใช้ได้ในสื่อใหม่สมัยใหม่ไม่ว่าบริบททางสังคมจะเปลี่ยนไปเช่นไร
References
กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม. (2557). จิตรกรรมฝาผนังพระที่นั่งพุทไธสวรรย์. กรุงเทพมหานคร: รุ่งศิลป์การพิมพ์ (1977) จำกัด.
พระมหาสิริชัย จริยสุธรรมกุล. (2561). การวิเคราะห์เรื่องราวจิตรกรรมพุทธประวัติในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์เปรียบเทียบกับคัมภีร์ในพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สน สีมาตรัง. (2522). จิตรกรรมฝาผนังสกุลช่างรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์การพิมพ์.
สันติ ลอรัชวี. (2563). บันทึกการบรรยาย สัญศาสตร์และการออกแบบ. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://santivithee.design/2020/04/09/%e0%b8%9a%e0%b8%b1%e0%b8%99%e0%b
%97%e0%b8%b6%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a2-%e0%b8%aa%e0%b8%b1%e0%b8%8d%e0%b8%a8%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%95/?fbclid=IwAR1_UArLGf8MWgc5tcCdF_uJ_u9CvTfowRD1lNQgQ1z2T_HkxDKTy_ygEJM
ศิลป์ พีระศรี. (2502). วิวัฒนาการแห่งจิตรกรรมฝาผนังของไทย สถานจิตรกรรมฝาผนัง สารบาญภาพจิตรกรรมฝาผนัง [The origin and Evolution of Thai Murals]. แปลโดย หม่อมเจ้าสุภัทรดิศดิศกุล. พิมพ์ในการจัดแสดงภาพจิตรกรรมฝาผนัง ณ หอศิลป กรมศิลปากร. อักษรศิลป์. สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อภิวันทน์ อดุลยพิิเชฏฐ์. (2555). จิตรกรรมฝาผนังพระที่่นั่งพุทไธสวรรย์. พิมพ์์ครั้งที่่ 3. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.
Curtin Brian. (2009). Semiotics and Visual Representation. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2565, จาก https://www.arch.chula.ac.th/journal/files/article/lJjpgMx2iiSun103202.pdf
Michael Kroeger. (2008). Paul Rand: Conversations with Students. [พอล แรนด์: บทสนทนากับนักเรียน]. แปลจากภาษาฝรั่งเศสโดย สันติ ลอรัชวี. ลายเส้น พับบลิงชิ่ง, บจก.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.