สารัตถะในพระสังคณีสำนวนล้านนา
คำสำคัญ:
สารัตถะ, พระสังคณี, สำนวนล้านนาบทคัดย่อ
สารัตถะในพระสังคณีสำนวนล้านนา จินตกวีได้เริ่มอารัมภบทถึงประวัติของพระพุทธเจ้าตอนที่ตรัสรู้เหนือโพธิบัลลังก์ ในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ แล้วประทับที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิ์ ตลอด 7 วัน ทรงพิจารณาถึงพระธรรมที่พระองค์ทรงบรรลุ ทรงเห็นว่า เป็นธรรมที่มีความหมายสุขุมละเอียด โดยพระองค์รำพึงในพระทัยว่าจะไม่แสดงแก่ใคร จนท้าวสหัมบดีพรหมมาอาราธนาให้แสดงธรรมแก่สัตว์โลก แล้วจินตกวีก็ขยายความไปถึงพระพุทธเจ้าปรารภเทศนาอภิธรรมปิฎกอันเป็นสัณหสุขุมคัมภีร์ธรรมแก่พุทธมารดา โดยเริ่มตัวมาติกาว่า จินตกวีก็ยกเอาอรรถกถามาขยายความเพิ่มถึงเหตุแห่งการที่ได้ชื่อว่าอภิธรรม อภิ อติเรโก ธมฺโม อภิธมฺโม แล้วจึงแสดงขันธาทิธรรมอันเป็นเอกเทสว่า อภิธรรมประกอบด้วยคัมภีร์ภาวะ ๕ ประการ แสดงอปริตลักขณะ คือ ลักขณะแห่งกุสลาทิธรรม ขันธาทิธรรม ปรมัตถะ 4 โกฏฐาก คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน การพิจารณาอัตถะแห่ง กุสลติกมาติกา ด้วยอันย่อพึงรู้ ธมฺมา คือ นิสฺสตฺตนิชฺชีวสภาวา อันว่า สภาวะทั้งหลายอันใช่สัตว์ใช่ชีวะ การนับเจตสิกสัมปยุต ในปถมบทได้ 38 คือ อญฺญสมานา 13 โสภณเจตสิก 25 เจตสิกสมฺปยุตฺต ในทุติยบทได้ 27 คือ อญฺญสมานา 13 อกุศลเจตสิก 14 เจตสิกสมฺปยุตฺต ในตติยบทได้ 38 คือ อญฺญสมานา 13 โสภณเจตสิก 25 มรณาสันนวิถี อารัมมณนิสสย อารัมมณวิปปยุตต ปรารภซึ่งรูปาทิอารัมมณอันเป็นอตีต อนาคต เป็นครุกาตัพพ ปรารภซึ่งธรรมารัมมณ คือมัคคะ 3 เบื้องต่ำ ได้อารัมมณปัจจัย 3 คือ อารัมมณ อารัมมณาธิปติ อารัมมณุปนิสสย แสดงการรับรู้อารมณ์ของอายตนะทั้ง 6 พร้อมทั้งยกฎีกาอภิธรรมมาขยายความเพิ่มเติม แล้วจึงสรุปอภิธรรมปิฏกสังคณีปกรณ์ว่าเป็นปกรณ์อันเป็นที่พระพุทธเจ้ารวบรวมเอาปรมัตถธรรม 4 คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน แจกให้เป็นติก 22 เป็นสุตตันติกมาติกา 42 ทุกก ได้สังวัณณนากุศลติกสิ่งเดียว คือ กุสลา ธมฺมา อกุสลา ธมฺมา อพฺยากตา ธมฺมา ได้ปรมัตถธรรมทั้งหมด คือ จิต 89 ดวง นัย 1 ว่า 121 เจตสิก 52 รูป 28 นิพพาน ปถมบทสรูปได้กุศลจิต 21 ดวง
References
คัมภีร์อภิธัมมาสำนวนล้านนา 7 ผูกลาน พระคันธิยารัสสะภิกขุ ฉบับวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่.
คัมภีร์พระสังคณีสำนวนล้านนาจำนวน หน้าลานที่ 1 ถึงหน้าลานที่ 20 ฉบับวัดสูงเม่น จังหวัดแพร่.
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เสถียร โพธินันทะ. (2513). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : บรรณาคาร.
อภิธัมมัตถสังคหะ, (2545). และปรมัตถทีปนี. พระภัททันตะธัมมานันทมหาเถระ อัครมหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์วัดท่ามะโอ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.