การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนัง “อัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้ม ทางธรรมเนียมประเพณีล้านนา สู่งานศิลปกรรมร่วมสมัย”

ผู้แต่ง

  • ธีระพงษ์ จาตุมา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • อำนาจ ขัดวิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปฏิเวธ เสาว์คง
  • สุวิน มักได้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนัง, ลายคำล้านนา, ศิลปกรรมร่วมสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังให้ได้องค์ความรู้ใหม่ในการรักษาผลงานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาอย่างแท้จริง  2) เพื่อจัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมแบบร่วมสมัยที่มีประโยชน์ในการพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นที่สำคัญของประเทศไทยแบบมีส่วนร่วมกับชุมชน เป็นการวิจัยเชิงพัฒนางานสร้างสรรค์ทางศิลปะ

ผลการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังและองค์ความรู้การรักษาจิตรกรรมฝาฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนา คือ (1) การสร้างสรรค์จิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัยในศาสนสถานสำคัญของชุมชน 2 ด้าน คือ ผนังด้านข้างทิศเหนือ และผนังด้านข้างทิศใต้ ใช้รูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการรวบรวมร้อยเรียงเรื่องราวให้ต่อเนื่องเป็น 1 เดียว ในเรื่องธรรมเนียมประเพณีไทยล้านนา คัมภีร์พระเจ้าเลียบโลก และประเพณี 12 เดือน  (2)  องค์ความรู้ใหม่ในการรักษาผลงานจิตรกรรมฝาผนังอัตลักษณ์ลายคำน้ำแต้มล้านนาร่วมสมัยที่เป็นเอกลักษณ์ของล้านนาอย่างแท้จริง โดยการนำเสนอลักษณะรูปแบบลายคำร่วมสมัย โดยใช้เทคนิคจิตรกรรมแบบสากลมาผสมผสานกับเทคนิคลายคำโบราณ มีการจัดวางน้ำหนักของสีพื้น การใช้เฉดสีอื่นและน้ำหนักของสีทองที่มีความหลากหลาย พัฒนาจากของโบราณที่มี 2 สี เกิดเป็นงานลายคำที่มีมิติและบรรยากาศที่น่าสนใจ

References

มานิตย์ โกวฤทธิ์. (2559). การสร้างสรรค์งานจิตรกรรมฝาผนังประเพณีวัฏจักรชีวิตรอบปีของคนถิ่นล้านนา (หมายเลข 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

ลิปิกร มาแก้ว. (2558). ลายคำ น้ำแต้ม. เชียงใหม่: โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.

วิทยา พลวิฑูรย์. (2562): “ลายคำล้านนาความงดงามที่ยังมีลมหายใจ”. ร่มพยอม วารสารสำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. 21(1), 5-7.

วิลาวัณย์ เศวตเศรนี. (2556). การอนุรักษ์และการจัดการพุทธศิลป์. เชียงใหม่: เชียงใหม่นิวส์.

ปรีชา เถาทอง. (2557). “แนวทางการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการสร้างสรรค์ศิลปะวิชาการ”. วารสารสมาคมนักวิจัย. 19(2), 5.

สุรชาติ เกษประสิทธิ์. (2560). ทัศนศิลป์กวีทรรศน์ปรากฏการณ์แห่งจิต จากฟิสิกส์ควอนตัมถึงพุทธธรรม. นเรศวรวิจัย: วิจัยและนวัตกรรมกับการพัฒนาประเทศ.

สุรพล ดำริห์กุล. (2544). ลายคำล้านนา. กรุงเทพมหานคร: เมืองโบราณ.

สุรพล ดำริห์กุล. (2539). งานศิลปกรรมลายคำประดับอาคารทางศาสนาล้านนา. ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27