การส่งเสริมสุขภาพเชิงพุทธบูรณาการของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระนวลแก้ว ขนฺติธโร (นวลแสง) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ประเสริฐ บุปผาสุข มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปรีชา วงศ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สุขภาพ, พุทธบูรณาการ, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก และ 3) เพื่อพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพเชิงพุทธบูรณาการของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลตำบลช้างเผือก เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์ และแบบสังเกต กับกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 30 คน ผลการศึกษา พบว่า

  1. สถานการณ์สุขภาพ พบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีสุขภาพกายและจิตดี แต่บางรายเผชิญปัญหา เช่น โรคเรื้อรัง ความจำเสื่อม และปัญหาอารมณ์ อย่างไรก็ตาม เทศบาลได้ส่งเสริมสุขภาพในด้านต่าง ๆ เช่น โภชนาการ การออกกำลังกาย การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมและนันทนาการ รวมถึงการให้บริการด้านสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
  2. การส่งเสริมสุขภาพ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) สุขภาพกาย จัดศูนย์กายภาพบำบัดและจ้างผู้ดูแลที่ผ่านการอบรม2) สุขภาพจิต จัดกิจกรรมกลุ่ม สร้างความมีส่วนร่วมในสังคม 3) สุขภาพสังคม ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณ และการสร้างงาน และ 4) สุขภาพปัญญา สนับสนุนการเรียนรู้ การมีส่วนร่วมในกิจกรรมชุมชน และการใช้วัดเป็นแหล่งเรียนรู้
  3. กิจกรรมเชิงพุทธบูรณาการ โดยการพัฒนาตามหลักภาวนา 4 ได้แก่ 1) กายภาวนา ส่งเสริมสุขภาพผ่านกิจกรรมที่ลดความผิดพลาดในชีวิต 2) ศีลภาวนา จัดกิจกรรมสวดมนต์ ออกกำลังกาย และรับประทานอาหารสุขภาพ 3) จิตภาวนา สนับสนุนการนั่งสมาธิและแผ่เมตตา และ 4) ปัญญาภาวนา พัฒนาความคิดผ่านการฟัง การคิดวิเคราะห์ และการฝึกฝน

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. ระบบ 3 หมอรู้จักคุณ. กระทรวงสาธารณสุข. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://3doctor.hss.moph.go.th [28 สิงหาคม 2566]

กิตติพร เนาว์สุวรรณ และมาริสา สุวรรณราช. (2562). สภาพปัญหาและความต้องการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคใต้ตอนล่าง. วารสารวิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ : ศิลปศาสตร์วิชาการ. ครั้งที่ 1, 4 กันยายน.

ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

เชียงใหม่นิวส์. ศูนย์สร้างสุขผู้สูงวัยเทศบาลตำบลช้างเผือก. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.chiangmainews.co.th [22 พฤษจิกายน 2565]

ทิวานันท์ ไชยประสิทธิ์ และคณะ. (2563) “ผลการใช้รูปแบบโปรแกรมสร้างสุขผู้สูงวัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของชุมชนเทศบาลตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่.” เอกสารสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ.

ฐิติวรรณ แสงสิงห์. (2556). “การศึกษาวิถีชีวิตของผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : กรณีศึกษาชุมชนบ้านลือคำหาญ อำเภอวาชินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2555). การพยาบาลปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 10. ขอนแก่น : สำนักพิมพ์คลังนานาวิทยา.

นิวัฒน์ พุฒวันเพ็ญ. (2563). “การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุตามหลักพุทธธรรม.” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พฤฒ พลังเชียงใหม่. (2565). ประชากรในจังหวัดเชียงใหม่ปี 2562. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://ddc.moph.go.th/uploads/files/20174202108200025238.pdf, 24 สิงหาคม.

พระกิตติกร หมอมนต์. (2564). “คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่.” วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ. 6(11), 194.

พระมหาเดชรชต สิริญาณเมธี (เดชพงค์). (2561). การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักพุทธธรรม : ศึกษาเฉพาะกรณีชุมชนเจดีย์ปล่อง ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารปัญญา. 25(2), 33.

พระมหาเชาวฤทธิ์ นรินฺโท (ทรัพย์สวัสดิ์). (2561). การศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุตามหลักภาวนา 4 : กรณีศึกษาผู้สูงอายุบ้านห้วยหอย ตำบลธาตุทอง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ภาณุวัฒก์ ว่องตระกูลเรือง. (2565). ลูกหลานรู้จัก เข้าใจ ภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุตามวัย. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.nakornthon.com

สามารถ ใจเตี้ย. (2562) การเสริมสร้างสุขภาพสังคมผู้สูงอายุในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิชาการสาธารณสุข.28(2), 186 – 194.

สุพาภรณ์ กันยะติ๊บ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษา สถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสาธารณสุขศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-25