แนวทางการทำพินัยกรรมชีวิตเชิงพุทธบูรณาการ
คำสำคัญ:
แนวทาง, พินัยกรรมชีวิต, พุทธบูรณาการ, พินัยกรรมชีวิตเชิงพุทธบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการทำพินัยกรรมชีวิต ในสังคมไทย 2) เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่เกี่ยวกับการทำพินัยกรรมชีวิต 3) เพื่อเสนอแนวทางการทำพินัยกรรมชีวิต เชิงพุทธบูรณาการ เป็นผลงานวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 รูป/คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการทำพินัยกรรมชีวิตในสังคมไทย คือ ไม่มีความรู้ ไม่ยอมรับ ความเชื่อ ประเพณีนิยม พูดเรื่องตายถือเป็นอัปมงคล ลางร้าย รู้สึกเศร้า หดหู่ คิดเรื่องอยู่ดีมากกว่าตายดี รอทำตอนอายุมากหรือตอนป่วย 2) ใช้หลักพุทธธรรมในอนัตตลักษณสูตร มัชเฌนธรรม หลักปฏิจจสมุปบาท : เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี สิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี เมื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ ตามหลักอริยสัจ 4 ใช้สติ ปัญญา เหตุผลแก้ปัญหาชีวิต ยอมรับกฎธรรมชาติ กฎไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ 5 รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ปฏิบัติสายกลาง (มรรคมีองค์ 8) ไม่สุดโต่ง ไม่ประมาท ดังปัจฉิมวาจาก่อนเสด็จปรินิพพานว่า "สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด" รู้เท่าทัน ความตาย ปล่อยวางอย่างมีสติสัมปชัญญะ ฝึกเจริญมรณสติ ยึดพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เป็นสรณะ 3) แนวทางการทำพินัยกรรมชีวิตเชิงพุทธบูรณา คือ บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์ รับบริการสาธารณสุข ที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน ยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย สิทธิการตายดี เป็นหลักประกันสุขภาวะให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม สู่พุทธนวัตกรรม พินัยกรรมชีวิตเชิงพุทธ” ตาม QR Code นี้.
References
กรมสุขภาพจิต. (2562). คู่มือฝึกอบรมโปรแกรมเสริมสร้างพลังใจญาติผู้ดูแลผู้สูงอายุ. กระทรวงสาธารณสุข.
ฉันชาย สิทธิพันธุ์. (2565). “ความรู้เบื้องต้นเรื่องการดูแลแบบประคับประคองและการตายดี”, กิจกรรม
ห้องเรียนออนไลน์ : วิชาชีวิต มิติทางการแพทย์.
นพดล วิทย์วรพงศ์. (2563). การตัดสินใจในระยะท้ายของชีวิตกับสังคมไทย. รายงานวิจัย คณะเศรษฐศาสตร์
จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ประทีป ธนกิจเจริญ. (2562). คู่มือผู้ให้บริการสาธารณสุขเรื่องกฎหมายและแนวทางการปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย. (พิมพ์ครั้งที่ 9). บริษัทสามดีพริ้นติ้งอีควิปเมนท์ จำกัด.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2546). ทุกข์สำหรับเห็น แต่สุขสำหรับเป็น (แก่นแท้พระพุทธศาสนา). พิมพ์
ครั้งที่ 9, กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร:
โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศรีเวียง ไพโรจน์กุล. (2565). “การวางแผนดูแลล่วงหน้า (Advance Care Planning) ”. กิจกรรมห้องเรียนออนไลน์ : วิชา
ชีวิต มิติทางการแพทย์.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส (2563), สร้างสุขที่ปลายทางด้วย Living Will และ Palliative Care. โรงพิมพ์ เดือนตุลา จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.