แนวทางบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับภาวนาธรรม ในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21
คำสำคัญ:
จิตตปัญญาศึกษา, ภาวนาธรรม, พระพุทธศาสนา, บูรณาการ, สุขภาวะบทคัดย่อ
ธรรมในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาแนวคิดการพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อเสนอแนวทางบูรณาการ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ การค้นคว้าศึกษาทางเอกสาร การสังเกตแบบมี ส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการและการสนทนากลุ่มย่อย
ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาน้อมนำแนวคิด วิถีปฏิบัติ รวมถึงญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเข้ามาไว้ในตัวศาสตร์อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นการภาวนา การเจริญกรรมฐานทั้งสมถะและวิปัสสนา การพัฒนามิติด้านใน กัลยาณมิตรและการใช้ท่าทีการเรียนรู้ต่างๆ แบบพระพุทธศาสนา 2) แนวคิดการพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21 สำคัญ จำนวน 2 แนวคิด คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพของประชาชนและทักษะชีวิต โดย องค์การอนามัยโลก 3) แนวทางบูรณาการจิตตปัญญาศึกษากับภาวนาธรรมในพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสุขภาวะในศตวรรษที่ 21 โดยสุขภาวะทางกายพัฒนาด้วยหลักการเผชิญความจริงกับหลักความต่อเนื่องร่วมกับกายภาวนาด้วยการเดินจงกลม การนั่งสมาธิ โยคะ ชี่กง ไท้เก๊ก การเดินป่า การออกกำลังกาย เป็นต้น สุขภาวะทางสังคมพัฒนาด้วยหลักการเชื่อมโยงสัมพันธ์กับหลักการชุมชนแห่งการเรียนรู้ร่วมกับสีลภาวนาด้วยกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ เป็นต้น สุขภาวะทางจิตพัฒนาด้วยหลักความรักความเมตตากับหลักความมุ่งมั่นร่วมกับจิตภาวนาด้วยการสวดมนต์ทำวัตรเช้าเย็น การอ่านพระสูตรในพระไตรปิฎก การปิดทองพระพุทธรูป เป็นต้น และสุขภาวะทางปัญญาพัฒนาด้วยหลักพิจารณาด้วยใจอย่างใคร่ครวญร่วมกับปัญญาภาวนาด้วยการพิจารณาอสุภะ การเรียนรู้จากผู้ป่วยระยะสุดท้าย การร่วมงานศพ การร่วมกิจกรรมประเพณีทางจิตวิญญาณ เป็นต้น
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2562). การสาธารณสุขไทย 2559-2560. นนทบุรี: ห้างหุ้นส่วนจำกัด แสงจันทร์การพิมพ์.
จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร. (2553). จิตตปัญญาศึกษา: การเรียนรู้สู่จิตสำนึกใหม่. กรุงเทพมหานคร: สวนเงินมีมา.
ชลลดา ทองทวี และคณะ (2551). จิตตปัญญาพฤกษา : การสำรวจและสังเคราะห์ความรู้จิตตปัญญาศึกษาเบื้องต้น. โครงการวิจัยและจัดการความรู้จิตตปัญญาศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงและจิตตปัญญาศึกษา (Transformative learning and contemplative education) ในจิตตปัญญาศึกษา: การศึกษาเพื่อการพัฒนามนุษย์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธนา นิลชัยโกวิทย์. (2551). หนังสือรวบรวมบทความการประชุมวิชาการประจำปี 2551 เรื่อง จิตตปัญญาศึกษา การศึกษาเพื่อพัฒนามนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธีระพล มะอาจเลิศ. (2556). การวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอและกลยุทธ์การสื่อสารในการเผยแผ่พุทธธรรมของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) : กรณีศึกษาผลงานนิพนธ์ชุดธรรมประยุกต์สำหรับคนรุ่นใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การสื่อสารประยุกต์). คณะภาษาและการสื่อสาร สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ประเวศ วะสี. (2550). ปาฐกถาสวัสดิ์ สกุลไทย: มหาวิทยาลัยจิตตปัญญาศึกษาและไตรยางค์แห่งการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร ประเทศไทย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส. อาร์ พริ้นเตอร์ แมสโปรดักส์ จำกัด.
พระมหานิพนธ์ มหาธมฺมรกฺขิโต (แสงแก้ว). (2557). การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุด้วยหลัก จิตภาวนาในพระพุทธศาสนา. รายงานงานวิจัย (หน้าบทคัดย่อ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาสากล สุภรเมธี. (2558). การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมตามแนวพุทธปรัชญา. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด (หน้า 351). ร้อยเอ็ด: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 127/ตอนที่ 22 ก /หน้า 1, 31 มีนาคม 2553
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์ (หน้า 8-18). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
วิจักขณ์ พานิช. (2551). การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ: การศึกษาดั่งเส้นทางแสวงหาจิตวิญญาณ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สวนเงินมีมา.
วิชญา ผิวคำ. (2553). กรณีศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้บนพื้นฐานแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาในอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล. (2552). จิตตปัญญาศึกษาคืออะไร. นครปฐม: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สมสิทธิ์ อัศดรนิธี. (2556). การแสวงหาความรู้แบบจิตตปัญญาศึกษา: ญาณวิทยาและวิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2563). โลกเปลี่ยน คนปรับ เตรียมคนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ในโลกหลังโควิด-19. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์และการวิจัย.
อำพล จินดาวัฒนะ. (2561). พุทธศาสนากับการสร้างเสริมสุขภาวะ. รายงานวิจัย (หน้า 92-101). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
World Health Organization (WHO) (2000). The world health report 2000: Health systems improving performance. Geneva: WHO, 2.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.