การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอนภาษาไทยของนักศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ปีการศึกษา 1/2562

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดณฐกร ปฏิภาณเมธี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระครูปริยัติกิตติวิมล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อัครชัย ชัยแสวง มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • ชุ่ม พิมพ์คีรี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • กิตติคุณ ภูลายยาว มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบการเรียนการสอน, ทักษะการสอน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพัฒนาทักษะการเรียนการสอนของนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาสาขาวิชาการสอนภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 ภาคปกติ ปีการศึกษาที่ 1/2562 จำนวน 52 คน มมร.วข. ล้านนา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบตารางประกอบบรรยาย

 

ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านสภาพปัญหาการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอน โดยรวมมีผู้เห็นด้วยคิดเป็นร้อยละ 82.20 2) ด้านการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอนโดยรวม 4 ด้าน แปลผลอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.69  3) ด้านการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการสอน โดยรวมแปลผลอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.05 และมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.77

References

ขวัญชัย ขัวนาและคณะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. รายงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา (สกสค.).

พิมพ์พันธุ์ เตชะคุปต์ & พเยาว์ ยินดีสุข. (2557). โดยครูถือเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องต่อการเตรียมคนในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระพีพัฒน์ หาญโสภาและคณะ. (2563). การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. สำหรับโรงเรียนร่มโพธิ์ทองธรรมวิทย์. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยาเขตอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). ประเมินผลการปฏิรูปการเรียนรู้โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาเอกชนกรมสามัญศึกษากรมอาชีวศึกษากรุงเทพมหานครเทศบาลและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

สุมาลี ชัยเจริญ. (2547). การพัฒนากระบวนการสร้างความรู้ของผู้เรียนตามแนวคอนสตรัคติวิสต์โดยความร่วมมือของครูและนักการศึกษา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อำพร อินทปัญญา. (2554) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์เรื่องการประยุกต์. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานวิจัยแห่งชาติ.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุจิตรา บุญยรัตนพันธ์(2546) วิจัยสังคมศาสตร์ – วิจัยรัฐศาสตร์. พิมพลักษณ์ : กรุงเทพมหานคร : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตรบัณฑิต

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ปี พ.ศ. 2560-2564, กรุงเทพมหานคร : สำนักนายกรัฐมนตรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29