การพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด ในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • มณทิรา เมธา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ทิพาภรณ์ เยสุวรรณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การฟื้นฟูสมรรถภาพ, ผู้ป่วยยาเสพติด, โรงพยาบาลธัญญารักษ์ เชียงใหม่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่  2) เพื่อพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ตามหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ สัมภาษณ์เชิงลึกและสนทนากลุ่ม ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและกึ่งโครงสร้าง คัดเลือกเฉพาะเจาะจง จำนวน 34 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาเพื่อสร้างรูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด

ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดในโรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่มีการบริหารงานตามโครงสร้างของส่วนกลาง ขั้นตอนการรักษาโดยการคัดกรอง ประเมินความรุนแรง บำบัดรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ประเมินผลและติดตามผล การฟื้นฟูสมรรถภาพ (1) การลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (2) ครอบครัวบำบัด (3) การบำบัดฟื้นฟูผู้ป่วยนอก Matrix Program และ (4) การบำบัดฟื้นฟูเข้มข้นทางสายใหม่ ไม่ได้มุ่งเน้นแก้ไขภาวะจิตใจ ครอบครัวบำบัดยังไม่ทำให้เข้าใจผู้ป่วยและไม่สามารถดูแลขณะอยู่ในสังคม เป็นสาเหตุหลักที่ผู้ป่วยกลับไปเสพติดซ้ำ 2) การพัฒนาการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยเป็นขั้นตอนการนำรูปแบบปัจจุบันมาวิเคราะห์หาสาเหตุสำคัญที่ทำให้กลับไปเสพซ้ำ พบว่าสาเหตุหลักคือ ภาวะจิตใจของผู้ป่วยและรูปแบบครอบครัวบำบัด นำข้อสรุปสู่เวทีสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนารูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยที่เหมาะสม 3) รูปแบบการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดใหม่คือธรรมบำบัดตามหลักธรรมสัมมัปปธาน 4 เพื่อฝึกจิตใจให้เพียรพยายาม มุ่งมั่นตั้งใจทำดี อดทนต่อสิ่งยั่วยุ และอบรมความรู้ครอบครัวให้สามารถดูแลผู้ป่วยไม่หวนกลับไปเสพซ้ำ

References

นิตยา ฤทธิ์ศรี และศุภลักษณ์ จันหาญ. (2563). การพัฒนารูปแบบการบำบัดฟื้นฟูผู้เสพยาเสพติดแบบบูรณาการในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม. 17(1), 77-87.

พระคันธสาราภิวงศ์. (2544). โพธิปักขิยธรรม. กรุงเทพมหานคร : บริษัทบุญศิริการพิมพ์ จำกัด.

พระมหาธนกร กตปุญโญ และคณะ. (2562). พุทธวิธีในการดำเนินการบำบัดผู้เสพยาเสพติดของสถานพักฟื้นวัดถ้ำกระบอก. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 6(4), 774-785.

ราชกิจจานุเบกษา. (2564). พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564. เล่ม 138 ตอนที่ 73 ก หมวด 4 กองทุนป้องกัน ปราบปราม และแก้ไขปัญหายาเสพติด มาตรา 87.

โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่. (16 มีนาคม 2565). รายงานสถิติผู้ป่วยประจำปีงบประมาณ 2562-2564. แหล่งที่มา : https://www.google.com/โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่.

วัชรี มีศิลป์และพระศรีวินยาภรณ์. (2563) การศึกษาการดำเนินกิจกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยติด แอลกอฮอล์ด้วยฆราวาสธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 16(2), 92-102.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข. (2564) ระบบข้อมูลการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ ปีงบประมาณ 2562-2564.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด กระทรวงยุติธรรม. (2564). ผลการปราบปรามยาเสพติดทั่วประเทศ รายงานประจำปี 2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27