วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสังสารวัฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท

ผู้แต่ง

  • ญาณวดี พงศากลวัชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สังสารวัฏ, พระพุทธศาสนา, เถรวาท

บทคัดย่อ

บทความวิจัยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อศึกษาสังสารวัฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของสังสารวัฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร

ผลการวิจัยพบว่า 1) สังสารวัฏในพระพุทธศาสนาเถรวาท หมายถึง การท่องเที่ยวไปในสงสารที่เป็นการเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภพภูมิต่าง ๆ ของสัตว์โลก ด้วยอำนาจของ กิเลส กรรม วิบาก หมุนวนอยู่เช่นนั้นตราบเท่าที่ยังตัดกิเลส กรรม วิบากไม่ได้ ซึ่งเป็นการเวียนว่ายตายเกิดของสัตว์โลกทั้งหลาย ที่วนเวียนอยู่ในวัฏฏะที่ไม่รู้จบสิ้น ดังพระพุทธพจน์กล่าวว่า ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้น เบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่องขวางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ที่สุด มนุษย์ทุกคนตกอยู่ในวงจรแห่งสังสารวัฏ คือ เมื่อมีกิเลส การกระทำของคนมีกิเลสทั้งดีและชั่ว จัดเป็นกรรม และเมื่อทำกรรมก็ย่อมต้องมีวิบาก คือผลของกรรมนั้นด้วยเสมอ วงจรของสังสารวัฏ (กิเลส กรรม วิบาก) ประกอบ 3 ทาง (กาย วาจา ใจ)

2) ส่วนวงจรสังสารวัฏมีความสัมพันธ์ที่แยกออกจากกันไม่ได้กับหลักคำสอนเรื่อง มรรค ผล และนิพพาน เรียกว่าโลกุตตรธรรม 9 เพราะชีวิตของมนุษย์มีลักษณะเป็นวงจร คือ มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป สาเหตุที่มนุษย์ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่อย่างไม่รู้จักจบสิ้น เพราะยังไม่ได้ตัดวงจรของสังสารวัฏตามหลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา การตัดวงจรของสังสารวัฏตามหลักอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค และการตัดวงจรของสังสารวัฏตามหลักการเจริญกรรมฐาน 2 อย่าง คือ 1. สมถกรรมฐาน 2. วิปัสสนากรรมฐาน

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.. (2534). พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถา แปล ชุด 91 เล่ม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). ปกรณวิเสสภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาปกรณวิเสโส. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์วิญญาณ.

พระครูปลัดพิเชษฐ์ อคฺคธมฺโม. (2560). “สังสารวัฏในพระพุทธศาสนา : ความสัมพันธ์และการตัดวงจร” บทความวิชาการ. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์. 13 (พิเศษ เล่ม 3), 144-154.

พระเทพเวที (ป.อ. ปยุตฺโต). (2533). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพฑูรย์ ถิรสทฺโธ (ค่ำคูณ). (2561). “ศึกษาเชิงวิเคราะห์แนวคิดเรื่องสังสารวัฏในพุทธปรัชญาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์ศาสนาศาสตร์มหาบัณฑิต. สาขาพุทธศาสนาและปรัชญา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาสมจินต์ สมฺมาปญฺโญ (วันจันทร์). (2533). “นรกและสวรรค์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26