แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • ญาณวดี พงศากลวัชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิโรจน์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดการ, ภูมิทัศน์วัฒนธรรม, การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, วัดในอำเภอ เมืองเชียงใหม่

บทคัดย่อ

บการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม ของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่   เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเจาะจง จำนวน 20 รูป/คน ด้วยการ สัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และเสนอรายงานวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์ 

ผลของการวิจัยพบว่า 1) แนวคิดภูมิทัศน์วัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ได้แก่ การท่องเที่ยวในมิติภูมิทัศน์วัฒนธรรม ศาสนสถานและสถานที่สำคัญสำหรับประกอบกิจกรรมทางศาสนาของผู้ที่นับถือ ศาสนาพุทธ ผู้ที่สนใจรวมถึงนักท่องเที่ยว เป็นการเผยแผ่ความรู้ และความเข้าใจในการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ผสมผสานทางพุทธศิลป์ วัฒนธรรมประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชน เพื่อนำเสนอหลักการปรับภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ 
2) สภาพและปัญหาการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมของวัด 4 วัด คือ วัดสวนดอก วัดเจ็ดยอด วัดศรีโสดา และวัดอุโมงค์สวนพุทธธรรม  ในอำเภอเมืองเชียงใหม่ จากข้อมูลทั้ง 5 ด้าน คือ (1) พุทธประวัติศาสตร์ (2) พุทธสถาน (3) พุทธศิลป์ (4) พุทธธรรม (5) พุทธกิจกรรม พบว่า มีสภาพและปัญหาความสำคัญอยู่ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่วนแนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธของวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่ พบว่าควรดำเนินการ 2 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธ 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ

 

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2555). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555 -2559. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

เชษฐ์ ติงสัญชลี. (2556). สังเวชนียสถานและสถานที่สำคัญทางพุทธประวัติในอินเดีย – เนปาล. กรุงเทพมหานคร: มิวเซียมเพรส.

พระมหาเศรษฐศิริ ปภสฺสโร (ทิตา). (2563). วิเคราะห์กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ของแหล่งเรียนรู้

พุทธศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธในจังหวัดเชียงราย. หลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2561). กาลานุกรมพระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ผลิธรรม.

สุกัลยา โหราเรือง.(2562). การศึกษาวิเคราะห์การท่องเที่ยวเชิงพุทธในล้านนา. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุรสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์. (2560). พระพุทธรูปล้านนากับคติพระพุทธศาสนามหายานแบบตันตระนิกายวัชรยานพิมพ์ครั้งที่ 2. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29