การจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษาชุมชนบ้านบ่อกรังหมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • วีริศ ฤกษ์ดี หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการชุมชนท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การจัดการ, การแพร่ระบาด, ไวรัสโคโรนา 2019, ชุมชนบ่อกรัง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทและการจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนบ้านบ่อกรัง หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และนักพัฒนาชุมชน และผู้ให้ข้อมูลรอง คือ ประชาชนในชุมชนบ้านบ่อกรัง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม จากนั้นวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนบ้านบ่อกรัง ถือเป็นชุมชนเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางด้านทรัพยากรทางธรรมชาติ คนในชุมชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร และค้าขาย ซึ่งเดิมชุมชนเคยเป็นพื้นที่สีขาว ปลอดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับการจัดการการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ชุมชนมีการจัดการแบบเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างแท้จริงและตรงจุด ทั้งด้านกระบวนการวางแผน การกำหนดมาตรการบริหารจัดการปัญหา การมีส่วนร่วมของประชาชน การให้บริการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน

References

กาญจนา ปัญญาธร กฤษณา ทรัพย์สิริโสภา, กมลทิพย์ ตั้งหลัดคงมั่น เเละวรรธนี ครอง ยุติ. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรค COVID-19 บ้านหนองสวรรค์ ตำบลเชียงพิณ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี. 32(1), 189-204.

ธิปัตย์ เทือกสุบรรณ. (2565). ที่บ้านกำนันท่าสะท้อน หมู่ที่ 2 ตำบลท่ สะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมภาษณ์. 22 เมษายน.

ธีรพล สุขมาลัย. (2565). ที่บ้านกำนันท่าสะท้อน หมู่ที่ 2 ตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมภาษณ์. 22 เมษายน.

นิพนธ์ จิริยะสิน. (2565). ทำความรู้จัก “โอไมครอน” โควิดสายพันธุ์ใหม่ลำดับที่ 5. https://www.nakornthon.com/article/detail/ทำความรู้จักโอไมครอน-โควิดสายพันธุ์ใหม่ ลำดับที่ 5.

ประชาชาติธุรกิจ. (2564). เทียบอาการโควิดสายพันธุ์เดลต้า อัลฟ่า เบต้า พบเชื้อในไท. https://www.prachachat.net/general/news-702629.

พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548. ราชกิจจา นุเบกษา. เล่ม 122 ตอนที่ 58ก. หน้า 1-9. https://library2.parliament.go.th/giventake/content_give/em160748.pdf.

ภานุเดช ชาวนา. (2565). ที่บ้านกำนันท่าสะท้อน หมู่ที่ 2 ตำบลท่า สะท้อนอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมภาษณ์. 22 เมษายน.

รุ่งทิวา มากอิ่ม ฐิติกร โตโพธิ์ไทย และชมพูนุท โตโพธิ์ไทย. (2563). บทเรียนจากการป้องกันและควบคุมการระบาดของโควิด-19: กรณีศึกษาเทศบาลเมืองอ่างทอง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข. 14 (4) , 489-507.

ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรสั โควิด-19. (2563). ศบค.แถลงการณ์ กระทรวงมหาดไทย. http:// www.moicovid.com

สอยฤทัย เกลี้ยงนิล. (2563). รัฐ-ชุมชนกับการจัดการภัยพิบัติโรคไวรัสโควิด 19 พื้นที่ถนนข้าวสาร เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร. http://www3.ru.ac.th/mpaabstract/files/2562_1597741815_6114832006.pdf.

อภิญญา นะมะ. (2565). ที่บ้านกำนันท่าสะท้อน หมู่ที่ 2 ตำบลท่า สะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สัมภาษณ์. 22 เมษายน

Bateman, S. T., & Snell, A. S. (2009). Management: Leading & Collaborating in a Competitive World (8th ed.). Boston: McGraw Hill.

World Health Organization, (2020). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers. https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26