บทบาททางการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ ในช่วง พ.ศ. 2531-2565

ผู้แต่ง

  • พงษ์ศักดิ์ แก้วแสนเมือง มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบทบาททางการเมืองในจังหวัดเชียงใหม่ของนายธวัชวงศ์
ณ เชียงใหม่ ในฐานะเจ้านายฝ่ายเหนือ ในช่วง พ.ศ. 2531 - 2565 และ 2. สร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับกลไก
ทางการเมือง ปัจจัยแห่งความสำเร็จทางการเมือง และแนวทางการตัดสินใจทางการเมือง เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) เน้นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ
กลุ่มนักการเมือง และกลุ่มที่ไม่เป็นนักการเมือง และประชากรในการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเลือกตั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า บทบาททางการเมืองนอกเหนือที่กฎหมายบัญญัติ อาทิ การลงพื้นที่พบปะชาวบ้าน การร่วมงานสังคม และการเข้าถึงชาวบ้าน เป็นกลไกทางการเมืองที่สำคัญในการแสดงบทบาททางการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และใช้ความเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือเป็นกลไกทางการเมืองน้อยมาก
เพื่อลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับนักการเมือง ในส่วนของปัจจัยแห่งความสำเร็จของนายธวัชวงศ์
ณ เชียงใหม่ คือ การเป็นที่รู้จักและการสร้างความเชื่อมั่นในความรักแผ่นดินเกิด ผ่านการแสดงบทบาท
การเป็นทายาทตระกูล ณ เชียงใหม่ แต่ในอีกทางหนึ่งความเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือไม่ได้ส่งผลต่อแนวทาง
การตัดสินใจทางการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ และมีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาททางการเมือง
ที่นักการเมืองจะใช้เป็นกลไกในการทำงานการเมือง ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และแนวทางการตัดสินใจทางการเมืองที่สำคัญ ดังนี้

1) ความภักดีทางการเมือง (Political Loyalty) เป็นกลไกในการทำงานการเมืองที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการทำงานการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ โดยการยึดมั่นร่วมงานการเมืองกับพลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ภายใต้หลักคิด “การมีหัวหน้าเพียงคนเดียว” ในฐานะบุคคลสำคัญในชีวิตการเมืองของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่

2) การใช้วิธีการลงพื้นที่พบปะประชาชน การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และการเข้าถึงชาวบ้านอย่างเรียบง่าย เป็นกลไกในการทำงานการเมืองจนประสบความสำเร็จของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่

3) การเป็นชนชั้นนำ (เจ้านายฝ่ายเหนือ) เป็นปัจจัยสนับสนุนความสำเร็จของนายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่

4) นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ มีแนวทางการตัดสินใจทางการเมืองโดยลดช่องว่างระหว่างประชาชนกับนักการเมือง ไม่ใช้ความเป็นเจ้านายฝ่ายเหนือหรือชนชั้นนำ เป็นกลไกในการทำงานการเมือง

References

กรมการปกครอง. (2529). รายงานวิจัยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2529. กรุงเทพมหานคร: กรมการปกครอง.

เกชา ป้อมงาม. (2553). บทบาททางการเมืองของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จำรัส ลาภเจริญสุข. (2537). บทบาททางการเมืองของศาสตราจารย์บุญชนะ อัตถากร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชินภัทร์ สมุทรทัย. (2546). ท้องถิ่นนิยมกับชัยชนะของพรรคไทยรักไทยในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2544 ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ธิดา สาระยา. (ม.ป.ป.). โครงสร้างของชนชั้นในสังคมสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย.

เบญจมาภรณ์ ตันหยง. (2552). แนวคิดและบทบาททางการเมืองของพันเอกสมคิด ศรีสังคม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เบญจวรรณ บุญโทแสง. (2550). พัฒนาการการปรับตัวทางการเมืองของกลุ่มอำนาจท้องถิ่น ภายหลังการผนวกดินแดนของสยาม (พ.ศ. 2442-2547): กรณีศึกษาตระกูล ณ เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พฤทธิสาณ ชุมพล, ม.ร.ว. (2553). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณรัชต์ แพงหนู. (2553). บทบาททางการเมืองของสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

วิลาสินี จินตลิขิตดี. (2546). บทบาททางการเมืองของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สถาบันพระปกเกล้า. (2551). นักการเมืองถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

โสภณ เกียรติเชิดแสงสุข. (2555). การศึกษาการดำเนินงานของ โรงแรมเซ็นทารา ดวงตะวัน เชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-26