ปัจจัยที่เอื้อต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการของ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ผู้แต่ง

  • ราตรี วงศ์เครา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีผล, การเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการ, บุคลากรสายวิชาการ

บทคัดย่อ

ปัจจัยที่เอื้อต่อการขอตำแหน่งทางวิชาการ ประกอบด้วย 2 ปัจจัยสำคัญ คือ
1) ปัจจัยภายใน ประกอบด้วย เจตคติต่อวิชาชีพอาจารย์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ แรงจูงใจใฝ่สัมพันธ์ แรงจูงใจใฝ่อำนาจ การพัฒนาตนเอง 2) ปัจจัยแวดล้อม ประกอบด้วย นโยบายมหาวิทยาลัย และระเบียบกฎเกณฑ์ นอกจากนั้นแล้ว อาจารย์ต้องมีการพัฒนาตนเอง ประกอบด้วย สร้างแรงบันดาลใจ การพัฒนาตนอย่างต่อเนื่อง และปราศจากความกลัว พร้อมทั้งมีความกล้าหาญทางวิชาการในการขอเข้าสู่กระบวนการดังกล่าว อันเกิดจากการเสริมแรงทั้งสองด้าน คือ 1) การส่งเสริมและสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ได้แก่ การกำหนดเส้นทางก้าวหน้าในการทำงาน (Career path) บูรณาการเข้ากับการประเมิน และ 2) การเสริมและสนับสนุนจากหน่วยงาน ในการมีมาตรการเชิงบวกและมาตรการเชิงลบ

References

กล้า ทองขาว. (2546). มหาวิทยาลัยในอุดมคติ : แนวคิดและหลักการจัดโครงสร้างการบริหาร. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช. 16(2) : 52.

เกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม. (2541). มหาวิทยาลัยกับการสนับสนุนผลงานทางวิชาการ. ข่าวสารสำนักหอสมุดกลาง : มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. 20(3) : 7-11.

จันทนันท์ จารุโณปถัมภ์ และสัญญา เคณาภูมิ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. วารสารรัฐศาสตร์ และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์. 4 (2), 208 – 231.

ฐิตาภา ทองไชย. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. รายงานวิจัย. กองทุนส่งเสริมงานวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ฐิตาภา ทัพวงศ์. (2564). การพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพ : กรณีศึกษากระบวนการสู่ความสำเร็จในการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ใหม่. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาจิตวิทยาประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปัณณวัฒน์ งามแสง และคณะ. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในยุคไทยแลนด์ 4.0 มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. วารสาร มมร วิชาการล้านนา. 9(2), 24 – 32.

มนัส สุวรรณ. (2543). แนวทางสำหรับการผลิตผลงานและการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ. ข่าวสารกองบริการการศึกษา. 11(86) : 5-6.

ราชกิจจานุเบกษา. (2562). พระราชบัญญัติการอุดมศึกษา พ.ศ. 2562.

ศรุดา ชัยสุวรรณ. (2560). ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารศึกษาศาสตร์. 18(2), 85 – 98.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2546). พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. (พฤษภาคม 2542). ความคาดหวังของสังคมที่มีต่อมหาวิทยาลัยในศตวรรษหน้า. วารสาร สออ. ประเทศไทย. 3(1), 23-34.

อุไรวรรณ ธนสถิต. (2540). ในแวดวงสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. วารสาร มกค. 17(1), 52-55.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-28