บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่สูงของศิษย์ ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • พระสมชาติ อินฺทปญฺโญ (ธรรมอมรศิริ) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • พระสุมุห์ธนโชติ จิรธมฺโม มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

บทบาท, เผยแผ่พระพุทธศาสนา, พืพื้นที่สูง, ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทพระสงฆ์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่สูงของศิษย์ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จังหวัดตาก 2) เพื่อวิเคราะห์บทบาทและปัญหาการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่สูงตามแนวทางของศิษย์ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จังหวัดตาก 3) เพื่อเสนอแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในพื้นที่สูงตามบทบาทของศิษย์ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา จังหวัดตาก งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำราวิชาการ รายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย 15 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า: 1) สร้างความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา ให้ประชาชนมีที่พึ่งทางด้านจิตใจ บุกเบิกสร้างสำนักสงฆ์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ส่งเสริมให้เด็กด้อยโอกาสมาบวชเรียน ให้ความอนุเคราะห์ด้านสารธารณูปโภคอีกด้วย

2) ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาดั้งเดิม ซึ่งไม่มีความรู้ด้านพระพุทธศาสนามาแต่เดิม จึงยากแก่การเผยแผ่ธรรมะ เรื่องงบประมาณ ระยะทางไกล และแรงงานฝีมือ ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง เยาวชนบวชเรียนน้อยลง บวชระยะสั้น เนื่องจากค่านิยมทางสังคมที่เปลี่ยนไป เข้าไม่ถึงสวัสดิการแห่งรัฐ

3) ควรใช้พิธีกรรมทางศาสนา สร้างศาสนวัตถุเชิงสัญลักษณ์ตามทางศาสนา การสงเคราะห์ประชาชน นำมาใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแผ่ และใช้กระบวนการสันติเสวนา แปลคัมภีร์เป็นภาษาถิ่นหรือเทศน์แบบประยุกต์ กำหนดแผนพัฒนาระยะยาว อาศัยความร่วมมือจากประชาชน ไปแนะแนว ไปจัดกิจกรรมสร้างความผูกพันกับพระสงฆ์ สนับสนุนทุนการศึกษา ตั้งมูลนิธิ ตั้งสมาคม ชมรม เพื่อระดมทุน ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาแก้ไขปัญหาร่วมกัน

References

กรกต ชาบัณฑิต และคณะ. (2556). ยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก. วารสารบัณฑิตศึกษา, 7(2), 60-61.

กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการ ว่าด้วยเรื่องการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์การศาสนา.

พระครูปลัดบุญยัง ทุลฺลฺโภ (สุนทรวิภาต) และพระมหาสมบัติ ธนปญฺโญ. (2558). บทบาทพระสงฆ์กับการเผยแผ่ยุคปัจจุบัน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 2(3), 132.

พระครูศีลวัฒนาภรณ์ (สุรินทร์ โพธิ์ชวัง). (2555). บทบาทและวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระพุทธวรญาณ (มงคล วิโรจโน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลยั: มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

พระครูสุธีจริยวัฒน์. (2562). บทบาทของพระสงฆ์ในศตวรรษที่ 21. วารสารพระพุทธศาสนาเขตลุ่มแม่น้ำโขง. 3(1), 21.

พระทวีศักดิ์ กิตฺติญาโณ (วรกิจเจริญวงศ์). (2561). การศึกษากุศโลบายการสอนประชาชนให้มีศีลธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาของครูบาชัยยะวงศาพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาณัฏฐพร ฐานวุฑฺโฒ. (2554). บทบาทพระสงฆ์กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในจังหวัดนครปฐม.วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพิพิธธรรมสุนทร (สุนทร ญาณสุนฺทโร). (2547). คม ชัด ลึก. กรุงเทพมหานคร : เลี่ยงเชียง.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ตาโณ). (2542). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฎราชวิทยาลัย,.

พระราชวรมุนี (ป.อ. ปยุตฺโต). (2526). พระพุทธศาสนากับสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทย์การพิมพ์.

พระอุดมบัณฑิต (สมศักดิ์ สุทฺธิญาณเมธี). (256). พระธรรมจาริก : กระบวนการและรูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนพื้นที่สูง อาศรมพระธรรมจาริกบ้านเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พินิจ ลาภาธนานนท์. (2529). บทบาทพระสงฆ์ไทยกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร : เจริญวิทยาการพิมพ์.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2524). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26