คตินิยม รูปแบบ และนวัตกรรมการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่อง

ผู้แต่ง

  • พระนิติพัฒน์ อุชุจาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พูนชัย ปันธิยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สมหวัง แก้วสุฟอง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คตินิยม, นวัตกรรม, พระพุทธรูปทรงเครื่อง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาคตินิยมและพัฒนาการ การสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาคตินิยมและรูปแบบการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในประเทศไทย 3) เพื่อบูรณาการ คตินิยม รูปแบบ สู่การสร้างสรรค์พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นแบบ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการพัฒนาพุทธนวัตกรรม

ผลการวิจัยพบว่า 1) คตินิยมและพัฒนาการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องในพระพุทธศาสนา เกิดขึ้นครั้งแรกในอินเดีย สมัยคุปตะ เป็นพระพุทธรูปสวมเครื่องทรงกษัตริย์ โดยมีคตินิยมเรื่องจกฺรวรฺตินฺ ของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน จึงมีการถวายเครื่องทรงกษัตริย์เพื่อประดับตกแต่งพระพุทธรูปเป็นพุทธบูชา ต่อมาอาศัยคตินิยมจากคัมภีร์ชมพูบดีสูตร ทำให้มีการสร้างพระพุทธรูปปางโปรดพระยาชมพู ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ในพม่า ล้านนา ล้านช้าง อยุธยา และเขมร

2) คติการสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องที่มีอิทธิพลในสังคมไทย มี 3 คติ คือ 1) คติจกฺรวรฺตินฺ ที่ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นจักรพรรดิของจักรวาล 2) คตินิยมตามคัมภีร์ชมพูบดีสูตร 3) คตินิยมตามความเชื่อท้องถิ่นจากคัมภีร์จักรวาลทีปนี ที่นิยมสร้างพระพุทธรูปแทนตัวบุคคล

3) การสร้างสรรค์พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นแบบบนฐานคติความเชื่อ 3 ประการ คือ คติจกฺรวรฺตินฺ คตินิยมตามความเชื่อในชมพูบดีสูตร และคตินิยมตามความเชื่อในท้องถิ่น ผสานกับศิลปะพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นแบบ 3 แบบ คือ  1) พระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะล้านนา 2) พระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะอยุธยา 3) พระพุทธรูปทรงเครื่องศิลปะรัตนโกสินทร์ นำมาบูรณาการออกแบบพระพุทธรูปทรงเครื่องต้นแบบด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ

References

ณัฐฐา คุ้มแก้ว. (2552). “การศึกษาเชิงวิเคราะห์วรรณกรรมภาคใต้เรื่องพระยาชมพู.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาวิชาจารึกภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนภัทร์ ลิ้มหัสนัยกุล. (2558). “ชมพูบดีสูตรในจิตรกรรมฝาผนังช่วงพุทธศตวรรษที่ 24 – 25.” วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ผาสุข อินทราวุธ. (2530). พุทธศาสนาและประติมากรรม. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระนิติพัฒน์ อุชุจาโร, พระอธิวัฒน์ รตนวณฺโณ, วิเคราะห์พระเจ้าทรงเครื่อง ในล้านนาตามแนวพุทธศิลป์.วารสาร มมร วิชาการล้านนา. 8(2), 37.

วีรวัฒน์ เหลี่ยมมณี. (2558). “เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติในมุมมองคณิตศาสตร์.” เอกสารสืบเนื่องการประชุม.การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 2 สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร22 ธันวาคม.

ศักดิ์ชัย สายสิงห์. (2564). “พระพุทธรูปทรงเครื่องต้นอย่างพระมหาจักรพรรดิงานช่างชั้นสูงในราชสำนัก.”ดำรงวิชาการ. 20(2), 34.

ศานติภักดีคํา. (2549). จิตรกรรมฝาผนังเรื่อง “ท้าวมหาชมพู” พระอุโบสถ วัดนางนองวรวิหาร. เมืองโบราณ. 32(3), 33

สุวัฒน์ วงษ์จำปา. (2565). 3D Printing สุดยอดนวัตกรรมทางเทคโนโลยีการพิมพ์ (ตอนที่ 1). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: https://www.scimath.org/article-technology/item/ 12478-3d-printing-1 [31 กรกฎาคม].

หอพระสมุดวชิรญาณ หลวงภัณฑลักษณวิจารย์ (โป๊ กิติโกเศศ). เรื่องท้าวมหาชมพู. พระนคร: โสภณพิพรรฒธนากร.

A.K. Warder. (1970). Indian Buddhism. Delhi: Motitae Banarsidass.

Dorothy H.Fickle. (2517). “Crowned Buddha Images In Southeast Asia.” ศิลปะและโบราณคดีในประเทศไทย เล่ม 1. ปราณบุรี: โรงพิมพ์ศูนย์กลางมหารราบค่ายธนะรัขต์.

Paul Mus. (1928). “Le Buddha Pare, Son Origine Indienne, Cakyamuni dans Ie Mohayaniame Miyen.” Bulletin de I’Ecole Francaise d’Extreme-Orient. XXVIII.

Rowland, Benjammin. (1961). “Bejewelled Buddha in Afghanistan.” Artibus Asiae. 24, no 1.

Thiripyanchai U Mya. (1959). “The Origin of the Jumbupati Image.” Report of the director of archaeology survey for the year ending. 30 September.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-25