วิเคราะห์การนำจริต 6 เพื่อพัฒนาอุปนิสัยบุคคล ที่ปรากฏในโหราศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระครูสุภัทรวชิรานุกูล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

จริต 6, อุปนิสัย, โหราศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาหลักจริต 6 และการพัฒนาอุปนิสัยบุคคลในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาหลักการพิจารณาอุปนิสัยบุคคลตามหลักโหราศาสตร์ 3) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์ใช้หลักจริต 6 กับโหราศาสตร์ในการพัฒนาอุปนิสัยบุคคล เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม กลุ่มละ 27 ท่าน

ผลการวิจัยพบว่า 1)  จริต คือ ความประพฤติของบุคคลที่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมทางกาย วาจา และจิตใจ ในทางพระพุทธศาสนา จริตแบ่งเป็น 6 ประเภท ได้แก่ ราคจริต โทสจริต โมหจริต วิตกจริต สัทธาจริต และญาณจริต แต่ละจริตมีลักษณะนิสัยและพฤติกรรมที่แตกต่างกัน การเข้าใจจริตของแต่ละบุคคลจะช่วยให้สามารถพัฒนาอุปนิสัยบุคคลได้อย่างเหมาะสม  2) หลักการพิจารณาอุปนิสัยบุคคลตามหลักโหราศาสตร์ อาศัยหลักการทำนายจักรราศี จากการคำนวณการโคจรของดวงดาวและตำแหน่งดวงดาวขณะเกิด ใช้หลักเลขศาสตร์ในการให้ความหมายของตัวเลขแทนลักษณะนิสัยของบุคคลเพื่อใช้ทำนายอุปนิสัยพื้นฐานและพฤติกรรมของบุคคล ส่งผลต่อการให้คำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับจริตของแต่ละบุคคล  3) การประยุกต์ใช้หลักจริต 6 กับโหราศาสตร์ โหราจารย์ได้ให้คำแนะนำในการฝึกฝนพัฒนาอุปนิสัยบุคคลตามจริตของตน ดังนี้  (1) ราคจริต ควรฝึกฝนการบุญสุนทาน รักษาศีล และเจริญสมาธิภาวนา เพื่อลดความโลภ (2) โทสจริต ควรฝึกฝนเจริญเมตตา เพื่อลดความโกรธ (3) โมหจริต  ควรฝึกฝนเจริญสติ เพื่อลดความหลง (4) วิตกจริต ควรฝึกฝนเจริญสมาธิ เพื่อลดความวิตกกังวล (5) สัทธาจริต ควรฝึกฝนเจริญปัญญา เพื่อเพิ่มความศรัทธา (6) พุทธิจริต ควรฝึกฝนการใช้หลักเหตุผล เพื่อเพิ่มความรอบคอบ และ (7) การฝึกฝนตามจริตของตนจะช่วยพัฒนาอุปนิสัยให้ดีขึ้น และนำไปสู่ความสุขความเจริญได้

References

กฤติกาวลัย หิรัญสิ. (2554). ศึกษาความสอดคล้องของหลักการพยากรณ์ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาทและวิชาโหราศาสตร์ไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กันยาวีร์ สัทธาพงษ์. (2551). คิดใหม่โหราศาสตร์หลังนวยุค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ณัฐพล บ้านไร่. (2562). การศึกษาเปรียบเทียบแนวคิดเรื่องพระเคราะห์ ทศา และนรลักษณ์ในคัมภีร์พฤหัตปาราศรโหราศาสตร์และตำราพรหมชาติฉบับราษฎร์ของไทย. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เทพย์ สาริกบุตร. (2511). โหราศาสตร์ปริทรรศน์ ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: เกษมบรรณกิจ.

เทพย์ สาริกบุตร. (2515). โหราศาสตร์ปริทรรศน์ ภาค 4 ภววินิจฉัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เฟื่องอักษร.

พระญาณธชะ. (2552). ปรมัตถทีปนี. แปลโดย พระคันธสาราภิวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร:หจก.ประยูรสาสน์ไทยการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2553). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: ธนธัชการพิมพ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์จำกัด.

พระพุทธโฆษะ แปลโดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถร). (2557). คัมภีร์วิสุทธิมรรค. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาทวีศักดิ์ ใครบุตร. (2544). ติรัจฉานวิชชา : ศึกษาเชิงวิเคราะห์ทัศนะและแนวปฏิบัติในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาเทียบ สิริาโณ (มาลัย). (2547). การใช้ภาษาบาลี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาประศักดิ์ อคฺคปญฺโ (ชั่งแสง). (2541). ความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์กับกฎแห่งกรรมของชาวพุทธไทย. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. (2541). วิมุตติมรรค. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

พระอุปติสสะเถระ. (2541). วิมุตติมรรค. แปลโดย พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) และคณะ. จากต้นฉบับภาษาอังกฤษของพระเอฮารา และคณะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหามกุฏราชวิทยาลัย. (2542). วิสุทธิมรรคแปล ภาค 1 ตอน 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

มานพ นักการเรียน. (2554). พระพุทธศาสนากับความเชื่อเรื่องโหราศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

สรชัย ศรีนิศานต์สกุล. (2563). อิทธิพลของโหราศาสตร์ในสังคมและการเมืองไทย. รายงานวิจัย. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สิงห์โต สุริยาอารักษ์. (2521). โหราศาสตร์ไทยชั้นสูง เรื่องฤกษ์ และการให้ฤกษ์ การคำนวณดวงพิชัยสงคราม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียงธรรมประทีป.

หลวงอรรถวาทีธรรมประวรรต (วิเชียร จันทน์หอม). (2516). โหราศาสตร์นิเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 2. พระนคร: โรงพิมพ์รุ่งวัฒนา.

อชิรพจณิชา พลายนาค. (2553). การใช้โหราศาสตร์เป็นวิถีทางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา.วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต. คณะอักษรศาสตร์: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-27