การประยุกต์ใช้คิลานสูตร เพื่อป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ของเครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม

ผู้แต่ง

  • แสงอรุณ สังคมศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

คิลานสูตร, โควิด 19, แพทย์วิถีธรรม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาหลักการรักษาโรคในพระพุทธศาสนาตามหลักคิลานสูตร (2) เพื่อศึกษาวิธีการป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ของแพทย์วิถีธรรม (3) เพื่อวิเคราะห์การประยุกต์หลัก คิลานสูตรรักษาผู้ป่วยจากปัญหาโควิด 19 ของจิตอาสาแพทย์วิถีธรรม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างจำนวน 21 คน

ผลการวิจัยพบว่า 1) การรักษาโรคในพระพุทธศาสนา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรคทางกาย(กายิกโรโค) และโรคทางใจ (เจตสิกโรโค) การรักษาโรคทางกาย ออกกำลังกาย เปลี่ยนอาหาร ใช้ยาสมุนไพรให้สมดุล โรคทางใจต้องรักษาการปรับเปลี่ยนอารมณ์ โดยใช้ธรรมะ ìคิลานสูตรî นั้นเป็นหนึ่งในพระสูตรในการรักษาโรคในพระไตรปิฎก เป็นหลักธรรมรักษาโรคที่สำคัญในการอบรมค่ายสุขภาพ เพื่อให้เกิดความสุข ความสบาย ด้านจิตใจ เครือข่ายจิตอาสาแพทย์วิถีธรรมได้นำมาประยุกต์ใช้ในการรักษาโรค 2) วิธีป้องกันและรักษาโรคโควิด 19 ของแพทย์วิถีธรรมนั้น มีแนวคิดหลัก คือ การฝึกฝนปฏิบัติเพื่อเข้าถึงสภาวะของความสุข คือใจเป็นประธานของสิ่งทั้งปวง พึ่งตนเอง ประหยัดเรียบง่าย มีประโยชน์ไม่มีโทษ พิสูจน์ผลได้ด้วยตนเอง มีการอธิบายกลไกการเกิดการหายของโรคอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ 3) มีวิธีปฏิบัติโดยใช้ธรรมชาติกับพระพุทธศาสนาในการรักษาโรคที่ดี คือหมอที่ดีได้แก่ตัวเราเอง เบื้องต้นคือการลดกิเลสรักษาโรค โดยมีแนวคิด ìศูนย์บาทรักษาทุกโรคî ผลของการปฏิบัติของผู้ป่วยในโรคโควิด 19 พบว่ารักษาโรคได้จริง ก่อให้เกิดความสุข ความสบาย ความสมบูรณ์ของชีวิต เข้าใจการลดกิเลสรักษาโรคครบถ้วนสมบูรณ์ทั้งวิทยาศาสตร์เชิงนามธรรมและรูปธรรม

References

ใจเพชร กล้าจน. (2553). ความเจ็บป่วยกับการดูแลสุขภาพแนวเศรษฐกิจพอเพียง ตามหลักแพทย์ทางเลือกวิถีพุทธ ของศูนย์เรียนรู้สุขภาพพึ่งตนตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงสวนป่านาบุญ อำเภอดอนตาล จังหวัดมุกดาหาร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล, สมพร จิตรัตนพร. (2564). การแพทย์วิถีธรรมกับการเพิ่มภูมิคุ้มกันโรคไวรัสโควิด-19. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี. 2 (2), 71-85.

พระมหาปองปรีดา ปริปุณฺโณ (จำปาศรี). (2545). การป้องกันและรักษาโรคตามหลักพระพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลักขณา แซ่โซ้ว. (2565). วิเคราะห์ศาสตร์การแพทย์วิถีธรรมของ ดร.ใจเพชร กล้าจน”.วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-29