แนวทางส่งเสริมการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุของประชาชนบ้านเอื้ออาทรสันกำแพง ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • พระวีระชาติ วีรชาโต (บุญยมัย) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • โผน นามณี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา
  • อุเทน ลาพิงค์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

การบำเพ็ญบุญ, บุญกิริยาวัตถุ, บ้านเอื้ออาทรสันกำแพง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุของประชน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุของประชน 3) เพื่อเสนอแนวทางส่งเสริมการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุของประชน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการรวบรวมข้อมูลการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องและการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก จากกลุ่มตัวอย่างที่ทำการเลือกโดยเฉพาะเจาะจง จำนวน 20 รูป/คน

ผลการวิจัยพบว่า: 1) มีการทำบุญ บริจาคทาน เสียสละสิ่งของทำกิจกรรมจิตอาสา ตามโอกาสต่าง ๆ ด้านศีลมีการสมาทานศีล รักษาศีลใน วันสำคัญทางศาสนา ตามเทศกาลต่าง ๆ ด้านภาวนา มีการไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ

2) คนในชุมชนไม่เข้าใจการบำเพ็ญบุญกิริยาวัตถุ ได้ดี เข้าใจในการให้ทานกับพระสงฆ์เป็นหลัก และศีลรักษาได้เป็นบางข้อ มักจะอ้างว่ามีกิจกรรมทางสังคม ส่วนภาวนาเข้าใจแค่การนั่งทำสมาธิ เท่านั้น เป็นเพียงการบำเพ็ญบุญแบบสืบต่อกันมาไม่ได้พัฒนาชีวิตในครอบครัว และปัญหาต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้

3) ส่งเสริมให้จัดกิจกรรมทำบุญให้ทานรูปแบบอื่น ทำกิจกรรมจิตอาสา เสียสละ ด้านศีล ส่งเสริมกฎระเบียบกติกาทางสังคมในการทำความดี ควรใช้ศีลเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การนำสื่อเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ ด้านภาวนา ส่งเสริมการไหว้พระสวดมนต์ทำสมาธิ ในวันสำคัญแห่งชาติ วันสำคัญต่าง ๆ ส่งเสริมการปฎิบัติธรรมบำเพ็ญภาวนาเป็นกรณีพิเศษ จัดพระวิทยากร มาบรรยายอบรมการบำเพ็ญภาวนา

References

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร : มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.

นลินรัตน์ อุ่นแก้ว. (2565). การประยุกต์บุญกิริยาวัตถุ 3 กับวิถีชีวิตสภาวะวิกฤติโควิด-19. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา. 5(1), 46–5.

กันตภณ หนูทองแก้ว และคณะ. (2564). การนำหลักบุญกิริยาวัตถุ มาใช้ในวิถีชีวิตของ ประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์. 6(1), 461-463.

มนตรี เมฆะวิภาต. (2565). แนวทางการรักษาศีลของเยาวชนไทยยุค 4.0. วารสาร มจร บาลีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 8(1), 225.

พระแวงชัย ธมฺมกาโม และคณะ. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยบุญกิริยาวัตถุ. วารสารวิจัยราชภัฏพระนครสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(1), 192-193.

พระธีรภัทร ธิติวิสุทฺธี และคณะ. (2557). ความงามเชิงสุนทรียะตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 1(1), 2.

พระธวัชชัย ดวงเจริญ และคณะ. (2563).พุทธวิธีสร้างแรงจูงใจเพื่อการรักษาศีล 5 ในยุค 4.0. วารสารศึกษิตาลัย. 1(1), 55–56.

พระครูวินัยธรสัญชัย ญาณวีโร(ทิพย์โอสถ) และคณะ. (2565). การเสริมสร้างความเข้มแข็งตามหลักบุญกิริยาวัตถุของชุมชนบ้านแสนคำ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มมร.วิชาการ ล้านนา, 8(2), 52.

พระธนโชติ จนฺทโชโต และคณะ. (2562). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักบุญกิริยาวัตถุ 3 ของอุบาสกอุบาสิกาบ้านหนองคูม่วง อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารปรัชญา และศาสนามหาวิทยาลัยขอนแก่น. 4(1), 1–2.

พระสมพงษ์ อธิจิตฺโต (ทาอุปรงค์). (2564). ศึกษาวิเคราะห์ประเพณีการทานขันข้าวของประชาชนล้านนาไทย. วารสารปัญญา. 28(3), 69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-26